พอดีว่างๆเลยหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองมาวิเคราะห์เล่นๆ
เป็นเวลาหลายปีและที่ยังเถียงกันไม่จบว่ากรุงเทพ(และปริมณฑล) ควรมีเพียงสนามบินเดียว หรือมีมากกว่า 1 สนามบิน (ตั้งแต่เปิดสุวรรณภูมิจนถึงวันนี้ เปลี่ยนรัฐบาล นโยบายต่างๆก็เปลี่ยน)
รวมถึงหน่วยงานองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องก็มีการนำเสนอข้อมูลต่างๆเพื่อสนับสนุนว่าควรเป็น single or multi airport ไม่ว่าจะ ICAO IATA หรือหน่วยงานของไทย (ทอท./กรมการบินพลเรือน) แนวทางที่เห็นชัดของที่ผ่านมาคือ การมีสนามบินเดียว หรือมีแค่สนามบินสุวรรณภูมิ (ในการให้บริการเที่ยวบินประจำทั้งในและระหว่างประเทศ)
แต่... ทำไมไม่ถามตัวเราเองละ ว่า ณ วันนี้เราต้องการอะไร? และความต้องการนั้น มันมีอะไรรองรับหรือไม่? แล้วสิ่งที่รองรับ มันเพียงพอไหม?
ซึ่งปลายทางของทุกอย่างที่ทำนั้นก็คือการเป็นฮับของการบิน แล้วการเป็นฮับละคืออะไร? เกี่ยวกับสนามบินเดียวกับหลายสนามบินแค่ไหน?
ก่อนจะวิเคราะห์ เราต้องมีข้อมูลก่อนถูกต้องไหมครับ
ข้อมูลทางสถิติ จากรายงานประจำปี ทอท. 2554 หน้า 140 ( http://www.airportth...2_attach_th.pdf )
เมื่อปีที่แล้ว (2554) ทั้งสุวรรณภูมิและดอนเมืองมีผู้โดยสารทั้งสิ้น 51,773,461 คน จาก สุววรณภูมิ 47,800,585 คน และดอนเมือง 3,972,876 คน
และ ตามแบบที่ออกแบบไว้นั้น สุวรรณภูมิรองรับได้ 45 ล้านคนต่อปี ( http://www.suvarnabh...actsheet_en.php )
แต่ปัจจุบัน เกินมาแล้ว 2 ล้านกว่าคน (อาจมองว่าเป็นเพราะดอนเมืองน้ำท่วม แต่ถ้าจะเป็นซิงเกิ้ลแอร์พอร์ต ก็ต้องนับรวมดอมเมืองจริงไหม?)
งั้นกลับมาดูว่าเรามีทรัพยากรไรบ้าง ปัจจุบัน เรามีสุวรรณภูมิ ที่ออกแบบให้รองรับได้ 45 ล้านคนต่อปี และรองรับเที่ยวบินได้ 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง และดอนเมืองที่ครั้งสุดท้ายที่ใช้อย่างเต็มรูปแบบ รองรับได้ประมาณ 38 ล้านคนต่อปี แต่ปัจจุบันลดลง เนื่องจาก SID/STAR ของทั้งสองสนามบินมีจุดตัดกันอยู่ และการที่สุวรรณภูมิเป็นสนามบินหลัก ดอนเมืองเลยถูกลดความสามารถลง ปัจจุบันรองรับได้เท่าไหร่ ไม่มีตัวเลขยืนยันที่แน่นอน แต่โดยส่วนตัวประมาณแบบหลวมๆไว้ที่ 10-15 ล้านคนต่อปี
เฟส 2 ของสุวรรณภูมิ ณ วันนี้ก็ยังมีแค่ข่าวว่าจะเริ่มๆ แต่ก็ยังไม่ได้นับ 1 เสียที แต่จากข่าวล่าสุด เห็นว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างภายในปี 56 แล้วใช้เวลาประมาณ 30 เดือน หรือคร่าวๆก็ 3 ปี หรือเสร็จในปี 59
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.mcot.net/...age/316888.html
http://business.yutc...-news&Itemid=67
http://www.thaipost....ws/151211/49683
เฟส 2 มีอะไรบ้าง? หลักๆก็มีอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (รองรับเครื่องบินจอดประชิดอาคารได้ 28 หลุมจอด) ขยายอาคารผู้โดยสารหลัก(ไม่แน่ใจว่าขยายทั้งด้านตะวันออกและตกหรือไม่) และอุโมงค์เชื่อม รวมถึงอาคารสำนักงานสายการบิน แต่ไม่รวมรันเวย์เส้นที่ 3
ซึ่งตามข้อมูล สุวรรณภูมิจะรองรับได้เพิ่มขึ้นอีก 15 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี แต่เนื่องจากไม่มีรันเวย์เส้นที่ 3 อยู่ในแผน(เฟส 2) แปลว่าจะไม่ได้ขยายขีดความสามารถในการขึ้น-ลงของเครื่องบิน ยังคงเป็น 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง (ซึ่งหากใครใช้สุวรรณภูมิบ่อยๆจะทราบว่า ปัญหาหนึ่งของสุวรรณภูมิคือ การที่ต้องต่อคิวขึ้นลงของเครื่องบินเป็นเวลานาน ในช่วงเวลาเร่งด่วน)
แล้วถ้าลองคิดเล่น ปัจจุบันปี 55 น่าจะมีคนใช้สุวรรณภูมิประมาณ 47-48 ล้านคนต่อปี (เป็นการประมาณการณ์จากข้อมูลปี 54) และเฟส 2 จะแล้วเสร็จปี 59 คิดเผื่อล่าช้าเป็นปี 60 หรือ 5 ปีหลังจากนี้ ถ้าคิดเล่นๆว่าสุวรรณภูมิจะมีคนใช้เพิ่มขึ้นปีละ 1-2 ล้านคน คูณไป 5 ปี ปี 60 จะมีคนใช้ต่อปี ถ้าคิดน้อยสุดก็ 52 ล้านคนต่อปี หรือมากสุดก็ 58 ล้านคนต่อปี ซึ่งแปลว่าอีกไม่กี่ปีก็จะเต็มความสามารถอีก ก็ต้องมาเริ่มเฟส 3 กัน
แต่ ICAO เคยเสนอให้สุวรรณภูมิสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ เผื่อแยกส่วนออกมาจากอาคารผู้โดยสารหลัก โดยบอกว่าถ้าสร้างจะเพิ่มขีดความสามารถได้ 20 ล้านคนต่อปี ( http://www.its.in.th.../6997-icao3--58 )
แต่ก็ยังไม่อยู่ในแผนเฟส 2 ของสุวรรณภูมิในปัจจุบัน โดยส่วนตัวเลยเกิดคำถามว่า แล้วเฟส 2 มีเผื่ออะไร? เพื่อทำให้จอดเครื่องบินได้เพิ่มขึ้นหรอ (จากปัจจุบัน หลุมจอดประชิดอาคาร 51 + หลุดจอดระยะไกล 69 = 120 หลุมจอด และเพิ่มจาก อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 อีก 28 หลุมจอด แปลว่าในอนาคตถ้าเสร็จจะมีทั้งสิ้น 148 หลุมจอด) และการขยายอาคารผู้โดยสารหลัก เผื่อให้ความแออัดลดลงหรอ ซึ่งทั้งสองอย่างถือว่าจำเป็น และทำถูกแล้ว แต่ปัญหาสำคัญอีกอันสิ ที่ยังไม่ได้แก้ คือ ความล่าช้าของการขึ้นลง ถ้าเฟส 2 เสร็จ สุวรรณภูมิ จะเป็นคอขวดมากขึ้น ที่จอดมี ผู้โดยสารมี แต่ไม่รันเวย์ให้ขึ้นลง
และท้ังหมดนั้นคือสิ่งที่(น่า)จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ (ปี 56 ตามแผน)