ประเทศตูนิเชียมีชื่อที่เป็นทางการคือ สาธารณรัฐตูนิเซีย (The Tunisia Republic) เป็นประเทศอาหรับมุสลิมที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดใน 3 ประเทศที่มีภูมิประเทศตั้งอยู่บนเทือกเขาแอตลาสเมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้วจะมีขนาดเล็กกว่าราว 3 เท่า มีพื้นที่ติดกับประเทศแอลจิเรียทางด้านตะวันตกและประเทศลิเบียทางทิศใต้ จุดเด่นที่เป็นเสน่ห์ที่สำคัญอีกอย่างคือการประเทศที่มีพื้นที่ของทะเลทรายซาฮาร่าอยู่ในประเทศด้วย ซึ่งกินพื้นที่ถึง 40% ( ทางทิศใต้ของประเทศ ) ขณะที่พื้นที่ส่วนที่เหลือกลับเป็นพื้นที่ซึ่งอันอุดมสมบูรณ์มาก สามารถปลูกพืชและทำการเกษตรที่สำคัญได้มากมาย พืชที่ขึ้นชื่อของที่นี่มีทั้งส้ม น้ำมันมะกอก และอินทผาลัมที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกและที่ตูนีเซียเป็นตลาดกลางค้าขายอินทผาลัมโลกด้วย ขณะที่พื้นที่อีกส่วนก็ติดชายฝั่งทะเลที่สามารถเดินทางเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งพื้นที่เหล่านี้มีบทบาทอย่างมากในสมัยโบราณ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งเมืองคาร์เทจ อันเลื่องชื่อของชาวฟีนิเซีย และ เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำของอาณาจักรโรมันในเวลาต่อมา

รายได้ต่อหัวของชาวตูนิสจะพอๆกันกับชาวไทยโดยค่าเงิน 1 usd = 1.2 -1.5 dtn ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่คือภาษาอาหรับและภาษาฝรั่งเศส ขณะที่ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั่วไปก็สามารถใช้ได้ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ส่วนปลั๊กไฟเป็นแบบ Type E คล้ายกับที่ใช้ในฝรั่งเศสและยุโรปส่วนใหญ่ สำนักงานของไทยที่ดูแลตูนิเซีย เดิมคือสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ปัจจุบันใช้ที่เป็นสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงตริโปลีประเทศลิเบีย และการขอ visa สำหรับเป็น group บ.ทัวร์ต่างๆสามารถดำเนินการ visa on arrival ได้แต่หากจะขอเองหรือเดินทางด้วยตนเองจะต้องดำเนินการยื่นที่สถานกงสุลที่กรุงเทพ(ข้างหลังตึกCaesarsที่สี่แยกห้วยขวาง ) และสถานกงศุลจะส่งเอกสารไปที่อินโดนีเซียให้ โดยใช้เวลาประมาณ2อาทิตย์เอกสารที่ต้องใช้ได้แก่ พาสปอร์ตและสำเนาหน้าที่มีภาพถ่ายของตนเอง , ภาพถ่าย 2 นิ้ว 2 ภาพ , จดหมายรับรองจากที่ทำงาน , หลักฐานการจองโรงแรม , สำเนาบัญชีเงินฝาก , เงิน $65 ต้องไม่เก่ากว่าปี2002 และเงินอีก 1500 บาท ( ที่มาข้อมูลขอvisa @ trekkingthai โดยคุณthelittlevoice )

ลักษณะบ้านเมืองของที่นี่เป็นที่รวมของผู้คนที่หลากหลายและเป็นศูนย์กลางสินค้านานาชนิดมาช้านานด้วยว่าเป็นเมืองท่าชายทะเลมาตั้งแต่อดีต ซึ่งทิ้งหลักฐานและร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองผ่านสถาปัตยกรรมแบบอย่างโรมัน และในปัจจุบันก็เต็มไปด้วยไปด้วยตึกสมัยใหม่ผสมกับตึกในรูปแบบจากยุคอาณานิคมในแบบฝรั่งเศส ซึ่งรวมไปถึงวิถีชีวิตของคนที่นี่ก็ดำรงชีวิตคล้ายชาวฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน จุดเด่นที่สำคัญที่พบเห็นบนท้องถนน คือร้านค้าต่างๆโดยเฉพาะร้านกาแฟ ที่มีชาวตูนิสนั่งดื่มกาแฟกันริมถนนหน้าร้านกันเป็นจำนวนมาก
ชาวตูนีเชียนภาคภูมิใจกับความเป็น modern islam ของประเทศตนเองเป็นอย่างมาก โดยคนตูนิสเองได้อธิบายว่าการปรับความเป็นมุสลิมให้เข้ากับวิถีชีวิตจริงได้นั้นคือการพัฒนาประเทศอย่างหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเมื่อทำการบ้านแล้วก็พบว่าน่าจะมีส่วนสำคัญไม่น้อยที่ทำให้ตูนีเซีย มีความก้าวหน้าในวิธีคิดหลายอย่างที่โดดเด่นและแตกต่างจากประเทศอาหรับมุสลิมอื่นๆ ด้วยว่าตูนีเซียได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศที่มีแผนพัฒนาประเทศและการพัฒนาด้านการศึกษาที่ดีที่สุดประเทศหนึ่ง จึงทำให้ตูนีเซียที่เป็นประเทศอาหรับซึ่งแทบจะไม่มีทรัพยากรน้ำมันใต้ผิวดินคอยหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจหลักของประเทศแต่ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศกลับได้รับการศึกษามากกว่าบางประเทศซึ่งร่ำรวยทรัพยากรน้ำมัน และมากกว่าประเทศที่มีประวัติศาสตร์ ความเจริญรุ่งเรืองมาช้านานอย่างประเทศอียิปต์อีกด้วย การที่มีแนวคิดเป็นที่ยอมรับในระดับสากลจึงทำให้ตูนีเซียมีศักยภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในอันดับต้นของภูมิภาคแอฟริกาทั้งในเรื่องเพลังงานปิโตรเลียมและการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากชาวยุโรปในแง่ของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวตากอากาศที่สำคัญอีกด้ว

นอกจากนี้ความโดดเด่นที่สร้างความภาคภูมิในการเป็น modern muslim โดยเฉพาะการเป็นประเทศมุสลิมที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้หญิงเป็นอย่างมาก ทั้งการการเปิดโอกาสผู้หญิงมีให้สิทธิในการศึกษา การทำงานได้เท่าเทียมกับผู้ชาย นอกจากนี้ที่นี่ยังให้ชายชาวตูนีเซียมีภรรยาได้เพียงแค่คนเดียวอีกด้วยซึ่งแตกต่างจากประเทศมุสลิมอื่นๆ ดังนั้นถ้าเราไปประเทศมุสลิมอื่นๆ เราอาจคุ้นเคยกับสตรีที่แต่งกายปกปิดมิดชิด คลุมฮิญาบตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้าน แต่ที่ตูนีเซียได้มีกฎหมายที่ห้ามสตรีคลุมฮิญาบหรือผ้าคลุมผมในสถานที่ราชการ(นอกเหนือจาก ตุรกีและอาเซอร์ไบจัน ) แม้จะมีเสียงคัดค้านจากชาวกลุ่มมุสลิมที่เคร่งครัด จนต้องมีการปรับแก้กฎหมายให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในที่สุดก็ตาม
บรรยากาศตามท้องถนนทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆอย่างตูนิส(tunis) เมืองซูสส์ (sousse) จะพบชาวมุสลิมตูนิส แต่งกายตามสมัยนิยมคล้ายกับชาวตะวันตกทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มคนหนุ่มสาว นักศึกษาและวัยทำงาน ขณะที่ชาวตูนิสดั้งเดิมที่อายุมากแล้ว หรือตามนอกเมืองให้ออกไปก็พบการแต่งกายเหมือนคนมุสลิมทั่วไปประปราย การเปลี่ยนโฉมจากการแต่งตัวตามประเพณีที่พบเห็นทั่วไปในประเทศมุสลิม มาเป็นการแต่งกายตามสมัยใหม่และใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงชาวตะวันตก การมีสิทธิที่เท่าเทียมกันของหญิงชายยุคใหม่ชาวตูนิส จึงมักจะพบเด็กนักเรียน นักศึกษาผู้หญิง เดินกลับจากโรงเรียน มหาวิทยาลัยเป็นปกติ หรือตามร้านอาหาร ร้านกาแฟก็นั่งรวมกันมีแยกหญิงชาย อาจจะด้วยความใกล้ชิดกับกลุ่มประเทศยุโรป ที่ทำให้ชาวตูนิสรับวิธีการคิดตามตะวันตกมาเสียเป็น ซึ่งทำให้มีความโดดเด่นเหนือประเทศในกลุ่มมุสลิมทั่วไป