Jump to content



 
จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม จองรถเช่า
แผนกบริการลูกค้า โทร 02-3737-555 จันทร์ - เสาร์ 09.00-18.00น.

 

ค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและการบินในเอชไฟล์ท เชิญด้านล่างนี้

หน้าแรก | เว็บบอร์ดรีวิว | จองตั๋วเครื่องบิน | จองโรงแรม | เที่ยวต่างประเทศ | เที่ยวในประเทศ | ลงโฆษณา

อะไหล่ขาด-บริหารแย่ 'แอร์พอร์ตลิงค์'ส่อเจ๊ง


  • Please log in to reply
30 replies to this topic

#21 Tambralinga

Tambralinga

    สมาชิก Business Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 1,884 posts
  • LocationNST(home) - HKT(work) - Worldwide (work)

 


Posted 01 August 2011 - 09:52 PM

Advertisements

ให้เอกชนมาสัมปทานดูแลกิจการ รัฐก็มีรายได้ ไม่ขาดทุนครับ
เอกชนเค้าน่าจะทำได้ดีกว่าครับ ผมเคยใช้บริการมาแล้ว
ปัญหาน่าจะอยู่ที่การบริหารจัดการครับ



Advertisements

#22 Flight Mania

Flight Mania

    สมาชิก Business Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 2,453 posts

Posted 02 August 2011 - 12:38 AM

อย่าลืมสิ่งสำคัญอย่างนึงนะครับ

ใครเป็นเจ้าของที่ แล้วก็รู้ๆกันนะครับ เจ้าที่เค้าของแรงขนาดไหน

ส่วนจะให้เอกชนประสบการณ์ 10 ปีมาบริหาร ผมว่าแค่ 2 สาย ก็กระเพาะฉีกแล้ว ไม่เห็นต้องแถมเลย สงสาร eno กับ คนกทม.
10 ปี ได้เพิ่มมา 2-3 สถานี ทั้งๆที่มันควรจะเป็น 2-3 สาย ด้วยซ้ำ
ปล่อยให้เป็นปลากระป๋อง 10 ปีค่อยได้ขบวนรถใหม่ยาวขึ้น ทั้งๆที่ชานชาลาเหลือเฟือ

ขอแสดงทรรศนะส่วนตัวไว้เท่านี้แหละครับ ส่วนประเด็นอื่นๆ ผมว่ารอคุณที่รู้ดีมากมาชี้แจง ดีกว่าครับ ;)

#23 lilomelody

lilomelody

    สมาชิก Economy Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 847 posts
  • Locationbkk

Posted 02 August 2011 - 01:33 AM

เริ่ด มาก รถไฟไทย

#24 pakavit_123

pakavit_123

    สมาชิก Business Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 1,548 posts
  • LocationToulouse FRANCE

Posted 02 August 2011 - 03:28 AM

'Maximum', on 01 Aug 2011 - 1:49 PM, said:

มันผิดตั้งแต่ตัดสินใจให้การรถไฟไทยมาบริหารจัดการแล้ว

ถ้าคุณคิดว่าผมพูดไม่จริงนะ คุณก็ดูสภาพขบวนรถไฟของ Airport Link สิครับ เลอะขี้โคลนดูไม่ได้ ยังกะโบกี้รถไฟวิ่งต่างจังหวัดยังไงยังงั้น ขนาดเพิ่งเปิดได้แค่ไม่นานเอง

แล้วลองหันดู BTS และ MRT สิครับ เปิดมา5ปี10ปี สภาพรถไฟยังใหม่ดูดีอยู่ตลอด ไม่เก่ากัง

ผมเชื่อเลยนะว่าถ้าให้เอกชนที่ทำBTSหรือMRTมาทำนะ ผมเชื่อว่าคุณภาพจะดีกว่านี้มากโข

คุณก็ลองคิดดูสิ BTSเปิดมาเป็น10ปี ไม่เห็นเคยจะมีปัญหาอะไรแบบนี้เลย

ส่วนเรื่อง City Air Terminal ที่มันไม่ได้เรื่องถึงทุกวันนี้ก็เพราะคุณเชื่อมทางต่อจากรถไฟใต้ดินมาถึงที่ City Air Terminal แต่ดันให้ผู้โดยสารลากกระเป๋าข้ามถนนและทางรถไฟมาถึงสถานี

เอาเป็นว่ากรณีของ Airport Link มีเรื่องอะไรหลายๆอย่างให้คิดเยอะครับ

เห็นด้วย มันผิดตั้งแต่ให้การรถไฟจัดการแล้ว

#25 AromA

AromA

    สมาชิก waiting list

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 161 posts
  • LocationChon buri

Posted 02 August 2011 - 03:27 PM

ดูรถไฟไทยที่มีอยู่แล้วยังทำให้ดีไม่ได้

ที่จริงผมว่าน่าจะให้เอกชนมาประมูลงานตั้งแต่แรกแล้วจะดีกว่า

#26 Water Jonatan Gibson

Water Jonatan Gibson

    สมาชิกใหม่กิ๊ก

  • Members
  • 2 posts

Posted 02 August 2011 - 04:06 PM

ไม่ต้องเถียงกันครับ ความจริงเป็นสิ่งไม่ตายหรอกครับ ถ้าอยากจะรู้ความจริงว่ามันเป็นยังไงเราก็จะบอกให้ เราเป็นพนักงานที่Airport link ทำงานจะสองปีแล้ว เราก็รู้อะไรในนี้ค่อนข้างมากพอสมควร

โปรเจกนี้เป็นโปรเจกที่สามารถเป็นหน้าเป็นตาให้กับสังคมคนไทยอย่างพวกเราคนไทยทุกคนในการดึงดูดชาวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยให้มากขึ้น โปรเจกนี้รัฐบาลให้เงินลงทุนมหาศาลเพราะเป็นระบบใหม่มาก ใช้ระบบจ่ายไฟแรงสูงและแบบใหม่ที่อยู่ด้านบน เพราะฉะนั้นต้องศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างมากจากต่างประเทศที่เขามีใช้กัน

โปรเจกนี้เราว่าเป็นอะไรที่มีอนาคตมากนะ แต่เมื่อรัฐบาลให้ รฟท. มาบริหารดูแลโปรเจกนี้ ซึ่งไม่ต้องบอกว่า เป็นองค์กรที่ขาดทุนยับเยินมากๆ บริหารงานไม่เป็นท่า ดูได้จากหัวรถจักรสมัยกี่ปีแล้ว ซ่อมจนมันหมดอายุการใช้งานก็ยังเอามาใช้อีก ไม่ใช่แค่หัวรถจักรนะครับ ถ้าสังเกตดูดีๆตรงรางรถไฟ น๊อตยึดรางรถไฟหายบ้าง ไม่ครบบ้าง ถามว่าอันตรายไหม อันตรายสุดๆครับตามหลักความปลอดภัยของสากล แต่ทำไมยังใช้อยู่ละ? เพราะอะไรก็คงรู้ๆกันนะครับ กลับมาต่อกันต่อครับ เราเข้าไปสมัยแรกๆเลยตอนที่ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นดี เราเข้าเป็นเป็นรุ่นบุกเบิก ช่วยองค์กรสารพัด ทำงานเพื่อองค์กรสารพัด จนมันเป็นรูปร่างขึ้นมา ทาง รฟท. ก็บอกกับพนักงานทุกคนว่า คุณต้องช่วยเหลือองค์กรทำงานเพื่อองค์กร เพื่อรอวันเป็นรัฐวิสาหกิจ เราก็โอเคนะกับคำพูดนี้ เพราะเราก็หวังตั้งแต่เนิ่นๆตอนที่สัมภาษณ์แล้ว ทางคนสัมภาษณ์บอกว่าประมาณสามเดือนจะเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัว แต่มันไม่เป็นอย่างนั้นเลย รฟท.เขาไม่คิดจะให้เป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ถ้าคุณได้ดูหนังสือพวก จากวันนั้นถึงวันนี้ของรฟท. จะเห็นข้อความในหนังสือว่า ทางรฟท.จะถือหุ้นของAirport Link ไว้ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียวและจะต้องเป็นลูกหลานของการรถไฟเท่านัั้น! คุณคิดว่าอย่างไรบ้างกับคำพูดแบบนี้ เราไม่อยากจะคิดเลย มันรู้สึกไม่ดีเอามากๆ

เราก็ทำงานไปได้ปีนึงก็ยังไม่มีวี่แววจะได้เป็นรัฐวิสาหกิจเสียที มีแต่สัญญาลูกจ้างชั่วคราวให้ตลอดมาหนึ่งปี สวัสดิการไม่มีให้เลยแม้แต่นิดเดียว มีเพียงแต่บัตรประกันสุขภาพที่ออกให้โดยศศินทร์ นอกนั้นก็ไม่มีอะไร พนักงานต้องเสียเงินขึ้นรถไฟฟ้าของตัวเองถ้าต้องการโดยสาร มันไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไรสำหรับพนักงานอย่างเราๆ แต่พวกผู้บริหาร รฟท. หรือแม้แต่พวกชาวต่างชาติที่รฟท.จ้างมาดูแลแพงแต่ไม่ได้ทำอะไรมากมายขึ้นฟรีไม่ต้องเสียเงิน เงินเดือนที่ให้พนักงานตั้งแต่วันที่เริ่มเข้ามาจนถึง ณ วันนี้ก็เท่าเดิมหมด และ รฟท.ก็จะให้ให้เงินเดือนแบบ 58 ขั้น กว่าจะได้สามสี่หมื่นก็อายุ 60 ปี แต่ละขั้นเพิ่มก็แค่ 100-500 บาทเท่านั้น เรากับเพื่อนๆในแผนกได้เงินเดือนไม่ถึงครึ่งนึงของสามหมื่นเลย บางแผนกหนักกว่าอีกให้เงินเดือนแบบแทบจะทำอะไรทั้งเดือนไม่ได้ 8000-9000 บาทแต่เขาทำงานหนักมาก 12 ชั่วโมงต่อวัน OT คูณหนึ่งนะครับ เพราะ รฟท.ใช้กฎหมายแรงงานอะไรของเขาก็ไม่รู้มาบีบพนักงาน

เรื่องพนักงานลาออกก็เป็นเรื่องนึงที่บางครั้งมันทนไม่ไหวจริง อย่างบางแผนกยกตัวอย่างเช่น Human Resource ก็มีคนเขามาสร้างระบบเป็นรุ่นบุกเบิกเช่นเดียวกับเรา แต่พวกผู้บริหาร รฟท. จะเอาคนรฟทมาเป็นManager แทนเขาและต้องสอนงานเขาทุกอย่าง และก็ต้องเจอเขาคุมอีก ถามว่าถ้าเป็นคุณทนได้ไหมอายุงานที่นี่ก็มีเยอะกว่า เป็นคนสร้างผังองค์กรต่างๆนาขึ้นมา แต่กลับต้องถูกคนรฟท.ที่ไหนไม่รู้ ไม่มีความรู้อะไรเท่าไร อายุงานที่นี่ก็ไม่มี มาคุมเขาอีกที ทนไหวเหรอแบบนี้ ก็ต้องลาออกสิ อยู๋ไปก็เจอพวก รฟท. กดอีก มีหลายแผนกเลยครับที่เป็นแบบนี้ รฟท.จ้างพวกชาวต่างชาติมาดูแลงานเยอะมากๆในจำนวนเงินหลายล้าน เเต่เหมือนกับศูนย์เปล่าครับ ไม่ได้มีอะไรดีเลยครับ จ้างมากดขี่พนักงานเอาผลงานเป็นของตัวเอง ทางSiemens เคยไล่ชาวต่างชาติคนนึงออกมาเพราะความประพฤติไม่ดีมากๆ แต่กลับกัน รฟท.ก็เอาเขามาเป็นManagerแผนกนึงทันที Siemens เห็นก็เลยหัวเราะมากที่องค์กรมันเป็นแบบนี้ ทุกคนที่เขาทำงานที่ต่างเฝ้ารออย่างมีความหวังว่าสักวันจะต้องเป็นรัฐวิสาหกิจ บางคนไม่มีทางเลือกอยากจะออกแต่ออกไม่ได้เพราะมีภาระครอบครัวจะต้องเลี้ยงดู บางคนอายุมากแล้ว

เรื่องอะไหล่ที่สรยุทธ์พูด เราตอบได้เลยครับว่าเรื่องจริงแท้ เพราะอะไรนะเหรอครับ ในโรงซ่อมบำรุงไม่มีอะไหล่สำรองเลยสักชื้นครับ ถ้าจำเหตุการณ์ที่อยู่รถไฟก็งดให้บริการไปหลายขบวนเฉยๆก็เพราะอะไหล่ไม่มีหละครับ ถ้าเกิดรถคันใดเสียจะมีการนำอะไหล่รถดีมาเปลี่ยนทันที เราเห็นบ่อยมากๆจนชินตาจริงๆ แต่ผู้โดยสารไม่รู็หรอกครับว่าอะไรจะเกิดขึ้น พอเสียหลายคันเข้าก็เหมือนไฟรนก้นไปเร่งซื้ออะไหล่มา แต่ก็ยังไม่ได้ทันทีต้องไปขอเบิกงบหลายขั้นหลายตอนมาก กว่าจะได้เงินสุทธิมานานครับ บางครั้งรถบางคันทางแผนกวิศวกรรถไฟห้ามนำขึ้นเนื่องจากเบรคล้อนึงมีปัญหา แต่ชาวต่างชาติที่รฟท.จ้างมาสั่งให้ทางแผนกที่เกี่ยวข้องในการเดินรถนำรถคันนี้ขึ้นและวิ่งแบบเต็มวัน เราเองก็ไม่ค่อยอยากขึ้นเลย สงสัยคนขับรถไฟนะครับเกิดอะไรขึ้นมาไม่มีโอกาสรู้ไม่มีโอกาสพูดเลย

เรื่องความสะอาดของรถ ที่นี่มีโรงชำระล้างครับ แต่ทว่าเหตุที่ไม่สะอาดก็หลายอย่างครับ อย่างแรกน้ำยาไม่ได้ประสิทธิภาพ แรงตึงขนแปรงไม่ได้มาตราฐาน บางครั้งน้ำยาหมดล้างไม่ได้ ถามว่า Siemens มาดูแลเรื่องนี้ไหม ดูครับแต่Siemens รู้สึกจะขายService ให้แพงกว่ามาตราฐานที่จะเป็นจริง ไม่รุ้ครับเพราะอะไรแต่คาดว่าน่าจะมีอะไรแอบซ่อนอยู่ค่อนข้างมาก

การบริการต่างๆนาๆพนักงานที่นี่ต่างเต็มใจให้บริการนะครับ เรามั่นใจทุกคน อย่าเอาพวกเราไปเปรียบเทียบกับพวกพนักงาน รฟท.นะครับ มันคนละความเต็มใจในการให้บริการจริงๆ เราเองเหนื่อยมามากๆจริงๆแต่ไม่มีสิทธ์จะได้พูด หรือม่แต่จะออกความเห็นในทุกๆเรื่อง พนักงานที่นี่ไม่ีสิทธ์เป็นประชาธิปไตย เพราะ รฟท.ใช้ระบบเจ้าขุนมูลนาย เราก็ไม่รู้นะรัชกาลที่ห้าเลิกระบบนี้ไปก็นานละ แต่ที่นี่ยังเอามาใช้

เมื่อสิ้นเดือนกรกฎามานี้ ทางองค์กรได้เข้าสู่รัฐวิสาหกิจแล้ว แต่สวัสดิการยังไม่สามารถถูกอนุมัติจากรฟท.เลยสักนิดเดียว มันก็เหมือนกับว่าแค่ได้ชื่อว่าบริษํทลูกแต่ทุกอย่างยังว่างเปล่า และไม่รู้ว่าจะถูกอนุมัติเมื่อไร เงินที่รัฐให้มาหลายพันล้านหายไปในพริบตาไม่มีมาบริหารบริษํทลูก เพราะอะไรหนะเหรอ คอรัปชั่น? คุณคิดว่ามีรึเปล่าหละ? เราไม่ตอบนะแต่หลายๆคนก็น่าจะรู้ เมื่อเช้าถ้าดูข่าวสรยุทธ์ว่าคนรฟท.เหยียบสองตำแหน่งที่นี่กับที่หัวลำโพง มันก็มีส่วนจริงเหมือนผู้บริหารคนนึงแหละครับ แต่คงไม่ใช่เท่านี้ รฟท.จะนำลูกหลานเขามาอยู๋ที่นี่หมด หลายคนก็มีคำถาม อ้าวแล้วพวกที่ทำงานอยู๋หละ? ก็อยู่ได้นะแต่จะต้องถูกพวกเขากดอีกหละ เหมือนกับ HR ที่ต้องลาออกไง

รฟท.เป็นองค์กรที่ใหญ่นะ รัชกาลที่ห้าทรงสร้างขึ้นเพื่อจะได้ให้ระบบรางรถไฟมีการพัฒนาเทียบเท่ากับสากล แต่คนในองค์กรสมัยนี้มันไม่ใช่แบบนั้นแล้ว เอาแต่ได้ๆๆๆๆ ภาษีประชาชนมาก็หายไปไหนก็ไม่รู้ พูดก็ไม่ได้ สุดๆ ทำงานเช้าชามเย็นชาม ทำงานเพื่อให้พวกรฟท.สบายแต่พนักงานอย่างพวกเราเหนื่อยมาก องค์กรพวกเราพนักงานให้มาเยอะแล้วแล้วองค์กรหละให้อะไรกับพวกเราไหม พวกผู้บริหารรฟท. สงสารรัชกาลที่ห้ามากที่เจอคนรุ่นหลังๆโกงชาติบ้านเมืองโกงประชาชน

#27 tumtum

tumtum

    สมาชิกใหม่กิ๊ก

  • Members
  • 5 posts

Posted 02 August 2011 - 05:30 PM

ต้องให้เอกชนบริหารเท่านั้น เพราะเราก็รู้ๆกันกับศักยภาพของ ข้าราชการ ไทย

#28 Water Jonatan Gibson

Water Jonatan Gibson

    สมาชิกใหม่กิ๊ก

  • Members
  • 2 posts

Posted 02 August 2011 - 08:01 PM

ถ้าอันไหนเราตอบให้ได้จะตอบให้คร่าวๆ
1.สถานีกว้างขว้างมากแทบตั้งวงตะกร้อได้ แต่ไม่มีเก้าอี้ให้ผู้โดยสารนั่ง สมควรมีเก้าอี้บริเวณก่อนเข้าชานชาลา เพราะบางทีฝนตกหนักหรือรถไฟหยุดวิ่ง
ปัญหานี้เราๆพนักงานทั้งหลายไม่ว่าจะนายสถานีหรือพนักงานในองค์กรก็เข้าใจนะ และเห็นใจอย่างยิ่งด้วย ไม่ใช่อย่างBTSกับ MRT ที่ไม่มีเก้าอี้ก็ได้เพราะรถเขามีระยะห่างกันประมาณ2-5นาทีเท่านั้น แต่Airport Link 15 นาทีค่อนข้างนานแต่คาดว่าทางผู้บริหารโครงการนี้ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้มาก เลยไม่มีให้ เขาคิดเพียงแค่ว่าให้รถวิ่งได้และเงินไหลมาอย่างเดียว

2.ที่สถานีรามคำแหงบนชานชาลามีเทปกั้นช่องว่างระหว่างแผงกั้นชานชาลา เพราะช่องกว้างเกินไป เข้าใจว่ากลัวเด็กจะตกลงไป แต่แก้ปัญหาชุ่ยมาก
เสียเงินสร้างสถานีใหญ่โต แต่ช่องว่างเล็กๆ กลับเอาเทปมากั้น
อันนี้เราไม่รู็จริงๆ

3.สถานีพญาไทเป็นสถานีต้นทางและปลายทาง แต่ไม่จัดการ บนชานชาลาร้อนมาก และควรมีพื้นที่ให้คนเดินมากกว่านี้ ในช่วงเช้าและเย็น
ผู้โดยสารแบกกระเป๋าใหญ่โตพะรุงพะรังขณะที่ข้างนอกยืนต่อแถวรอขึ้นรถแทบจะ เต็มชานชาลา

แก้ยากนะเราว่าสำหรับอันนี้ แบบแปลนแต่ละสถานีที่เขาเอามาสร้างบางทีก็ไม่ถูกสเปคด้วย ต้องทำใจหละแบบนี้

4.ส่วนรับรองพิเศษของขบวนพญาไทเอ็กซ์เพรสทำได้ตลกมาก แค่เอาเทปมากั้น เอากระถางต้นไม้และพัดลมมาตั้ง โซฟามาวางทำเหมือนจัดงานโรงเรียน
คนคิดขาดรสนิยมอย่างแรง ลงทุนสร้างเป็นหมื่นล้านควรให้นักออกแบบตกแต่งภายใน

สำหรับอันนี้ตอนแรกไม่ได้มีการจะคิดเพื่อให้บริการสายExpressที่สถานีพญาไทหรอกครับ เพราะตอนแรกให้บริการตั้งแต่มักกะสันแต่จนจวบนึงExpressไม่มีใครขึ้นเลย(300คนต่อวัน) ก็เลยหาแผนใหม่โดยให้รถExpressไปจอดที่พญาไทสองขบวนวิ่งยาวไปสุวรรณภูมิ อันนี้เราก็ไม่รู้ว่าใครออกแบบที่นั่งให้อะ ขาดว่าน่าจะเป็นนายสถานีพญาไท เนื่องด้วยงบประมาณที่รฟท.ให้นั้นน้อยมากๆ และก็ทางพนักงานอย่างเราทำอะไรไม่ได้มาก เมื่อมีคำสั่งจากเบื้องบนให้ทำก็ต้องทำ

5.ระบบกั้นทางเข้าออกที่ต้องหยอดเหรียญห่วย ดีเลย์ตลอด


6.ตู้ขายตั๋วติดตั้งไว้เยอะๆ ใช้งานไม่ได้ เมื่อใช้งานไม่ได้ไม่ควรเสียบปลั๊กให้ขึ้นจอแดง ถ้าเหรียญหมดตู้แล้วทำไมไม่มาเติม
อยากเตือนนิดนึงนะ พยายามอย่าใส่ธนบัตรร้อยบาทเข้าไปเพราะมันอาจไม่คืนเงินทอนให้คุณก็ได้ ด้วยความหวังดี

7.รถวิ่งมาใกล้จะถึงสถานีหัวหมากแล้วทำไมแอร์มันไม่เย็นบ่อยมาก จะตัดแอร์ประหยัดพลังงานหรืออย่างไร ประหยัดพลังงานเป็นเรื่องดี
แต่คนยืนแน่นเต็มขบวนช่วงเย็นจนหายใจอึดอัด
ตรงนี้เราขออธิบายง่ายๆนะ รถไฟเมื่อวิ่งผ่านช่วงรามคำแหงจะเข้าหัวหมากหรือหัวหมากไปรามคำแหงเนี่ยจะต้องเปลี่ยนแหล่งไฟกับโซนเดิมหนะ รถไฟจะมีการนำตัวรับไฟลงและพอวิ่งผ่านไปจะนำขึ้นไปรับกระแสไฟจากโซนสองจากแหล่งจ่ายไฟโซนสองหนะ ทำให้รถไฟไม่มีไฟชั่วขณะระบบทุกอย่างดับแต่รถก็วิ่งด้วยความเฉื่อยไปอะ เมื่อรับไฟโซนสองเสร็จจะทำงานใหม่ระบบจะกลับมาเป็นปกติ รถไฟบางคันมีความเสื่อมในตัวเองทำให้ระบบแอร์ขัดข้องได้

8.บัตรสมาร์ทการ์ดเสียและเกิดซ้ำอีกกับเจ้าของคนเดิม รอบแรกพนักงานแจ้งว่าแถบแม่เหล็กของเอทีเอ็มไปลบข้อมูล แต่เมื่อซื้อบัตรใหม่แล้วเปลี่ยนช่องเก็บ
ไม่ให้โดนเอทีเอ็ม บัตรเครดิต คีย์การ์ด ยังเกิดเหตุซ้ำซ้อนขึ้นอีก

9.เสียงเปิดปิดรถไฟฟ้าสายซิตี้ไลน์ทำไมถึงดังขนาดนี้ เวลาเปิดปิดแต่ละครั้งสะดุ้งตื่นกันแทบทุกคน มีวิธีทำให้เสียงดังลดน้อยลงกว่านี้ได้หรือไม่ และ
เป็นเรื่องปกติฮะ รถไฟความเร็วสูงไม่ว่าจะประเทศไหนก็ใช้ระบบอัดแรงดันอากาศ ถ้าเป็นBTS MRT จะไม่ได้ใช้ระบบนี้ รถไฟAirport Linkทุกคันใช้ระบบแรงดันอากศแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะใช้ในเรื่องที่รับไฟ ประตูต่างๆนา

10.ผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่สถานีมักกะสันจะต้องแบกลากประเป๋าข้ามถนน และทางรถไฟ เพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์
หากเร่งแก้ไขทางเชื่อมต่อให้แล้วเสร็จโดยเร็ว จะช่วยให้คนใช้บริการที่สถานีมักกะสันเพิ่มมากขึ้น

ถ้าได้ฟังข่าวสรยุทธ์เมื่อเช้าวันที่ 2 สิงหาคมนั้น จะพบว่ามันสร้างได้ตั้งนานแล้ว งบก็มีเพียงพอให้อยู่แล้ว แต่ทำไมทำไม่สำเร็จ เงินหายไปไหน? น่าจะได้คำตอบแล้วนะ

#29 nutnano

nutnano

    สมาชิก Economy Class

  • Sponsor Member
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 843 posts
  • LocationSARL Phaya Thai Station

Posted 02 August 2011 - 08:32 PM

'Water Jonatan Gibson', on 02 Aug 2011 - 1:01 PM, said:

5.ระบบกั้นทางเข้าออกที่ต้องหยอดเหรียญห่วย ดีเลย์ตลอด


ระบบ Automatic Fare Collector ยี่ห้อ Thales ที่ SARL ใช้นั้น เหมือนกับของ MRT และเป็นระบบเดียวกัน คุณภาพเหมือนกัน

'Water Jonatan Gibson', on 02 Aug 2011 - 1:01 PM, said:

7.รถวิ่งมาใกล้จะถึงสถานีหัวหมากแล้วทำไมแอร์มันไม่เย็นบ่อยมาก จะตัดแอร์ประหยัดพลังงานหรืออย่างไร ประหยัดพลังงานเป็นเรื่องดี
แต่คนยืนแน่นเต็มขบวนช่วงเย็นจนหายใจอึดอัด
ตรงนี้เราขออธิบายง่ายๆนะ รถไฟเมื่อวิ่งผ่านช่วงรามคำแหงจะเข้าหัวหมากหรือหัวหมากไปรามคำแหงเนี่ยจะต้องเปลี่ยนแหล่งไฟกับโซนเดิมหนะ รถไฟจะมีการนำตัวรับไฟลงและพอวิ่งผ่านไปจะนำขึ้นไปรับกระแสไฟจากโซนสองจากแหล่งจ่ายไฟโซนสองหนะ ทำให้รถไฟไม่มีไฟชั่วขณะระบบทุกอย่างดับแต่รถก็วิ่งด้วยความเฉื่อยไปอะ เมื่อรับไฟโซนสองเสร็จจะทำงานใหม่ระบบจะกลับมาเป็นปกติ รถไฟบางคันมีความเสื่อมในตัวเองทำให้ระบบแอร์ขัดข้องได้


บริเวณระหว่าง สถานีรามคำแหง และ สถานีหัวหมาก เขาเรียกว่า Neutral Zone ซึ่งเป็นย่านสับเปลี่ยนแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า แต่ทั้งนี้ การที่ขบวนรถเข้าสู่ช่วง Neutral Zone นั้น ไม่ได้ทำให้ระบบทุกอย่างในรถหยุบทำงานทั้งหมด เนื่องจากภายในขบวนรถยังมีแบตเตอรี่เป็นพลังงานสำรองให้กับบางระบบ เช่น ATO/ATC/ATP ที่ใช้ในการควบคุมขบวนรถ และเชื่อมต่อกับระบบ Signalling อยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงระบบแสงสว่างทั้งขบวนรถ (สำหรับ BTS/MRT จะสำรองจ่ายให้แค่ไฟฉุกเฉินตรงประตูเท่านั้น) แต่ทั้งนี้ระบบจ่ายไฟสำรองนั้นไม่ได้ทำการจ่ายให้กับระบบปรับอากาศในขบวนรถ จึงทำให้ระบบปรับอากาศนั้นไม่ทำงาน

ซึ่งถ้าดับหมดทั้งขบวนแบบที่คุณ WJG อ้างจริง ระบบ ATO/ATC/ATP จะดับด้วย แล้วจะทำให้เกิดกรณีที่ "ขบวนรถหายไปจากระบบ" หรือ "รถล่องหน" แบบ BTS ช่วงที่เปลี่ยนระบบจาก Siemens มาใช้ Bombardier อย่างแน่นอน แล้วถ้าเกิดกรณีนี้จริง ระบบจะสั่งให้มีการ Emergency Break (EB) ในขบวนรถทุกขบวนที่มีทิศทางการวิ่งเข้าหาขบวนรถที่หายไป แต่ทุกวันนี้ไม่เกิดกรณีที่ขบวนรถหายไปจากระบบ นั้นแสดงว่าขณะที่ขบวนรถมีการผ่าน Neutral Zone นั้น ระบบ ATO/ATC/ATP ในขบวนรถไม่ได้ดับไปด้วย เนื่องจากยังมีแหล่งพลังงานสำรองจ่ายไฟให้กับขบวนรถอยู่ (ถ้าเกิด ATO/ATC/ATP ดับไปด้วย มันเท่ากับการที่นำขบวนรถเข้าสู่ Depot แล้วเมื่อพ้น Neutral Zone ก็ต้องมา Run Up ระบบใหม่ ซึ่งการ Run Up ขบวนรถนั้น จะไม่สามารถกระทำในขณะที่ขบวนรถมีการเคลื่อนที่ได้ หรือหมายความว่า รถจะต้องจอดนิ่งสนิท Throttle ใน Cab จะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง B หรือ Break เท่านั้น)

'Water Jonatan Gibson', on 02 Aug 2011 - 1:01 PM, said:

9.เสียงเปิดปิดรถไฟฟ้าสายซิตี้ไลน์ทำไมถึงดังขนาดนี้ เวลาเปิดปิดแต่ละครั้งสะดุ้งตื่นกันแทบทุกคน มีวิธีทำให้เสียงดังลดน้อยลงกว่านี้ได้หรือไม่ และ
เป็นเรื่องปกติฮะ รถไฟความเร็วสูงไม่ว่าจะประเทศไหนก็ใช้ระบบอัดแรงดันอากาศ ถ้าเป็นBTS MRT จะไม่ได้ใช้ระบบนี้ รถไฟAirport Linkทุกคันใช้ระบบแรงดันอากศแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะใช้ในเรื่องที่รับไฟ ประตูต่างๆนา


เสียง"ปั้ง" ที่ดังระหว่างประตูปิด เกิดจากกลไกของประตู เวลาที่ประตูถูกดึงกลับเข้ามาในตัวรถ หากท่านลองสังเกตดีๆ บริเวณด้านล่างของประตู จะมีอุปกรณ์ทำหน้าที่เปรียบเสมือนสปริง คอยดึงประตูกลับ พอประตูปิดมาถึงตำแหน่ง อุปกรณ์ตัวนี้จะทำการดึงประตูให้หุบเข้ามาในตัวรถ จึงทำให้เกิดเสียงดัง และเสียงแบบนี้เป็นปกติของระบบประตูแบบ Plug-In Door

ประตูแบบ Plug-In Door

ประตูแบบนี้จะใช้บนเครื่องบิน และห้องที่ต้องการควบคุมความดัน หรืออุณหภูมิ แต่สำหรับรถไฟก็มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย อาทิเช่น

MTR A-Stock EMU จาก ADTranz/CAF
MTR K-Stock EMU จาก Hyundai Rotem/ Mitsubishi Heavy Industries
Desiro Series จาก Siemens AG

ทั้งนี้ ในรถไฟไม่ได้มีจุดประสงค์ไว้เพื่อควบคุมความดันหรืออุณหภูมิแต่อย่างไร และไม่สามารถควบคุมความดันหรืออุณหภูมิได้

และ เสียงที่เกิดขึ้นจากการปิดประตู เกิดการกลไกการทำงานของระบบประตู โดยเฉพาะช่วงที่ประตูหุบเข้ามาในขบวนรถ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตระบบประตูให้กับรถขบวนนั้นๆ สามารถออกแบบกลไกให้ทำงานเงียบได้ (ของ SARL นั้นคือ บริษัท BODE A.G. จากประเทศเยอรมนี)

ประตูรถไฟแบบ Plug In Door มีทั้งแบบเสียงดัง และแบบเงียบ ขึ้นอยู่ว่าจะทำแบบไหน (ลองชมตัวอย่างได้จากในคลิปด้านล่าง)

ส่วนใหญ่รถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟที่ต้องการทำความเร็ว จะใช้ระบบประตูแบบนี้กันมาก เนื่องจากมีผลในเรื่องของกระแสลมวนบริเวณของประตู

Outside Sliding Door แบบ BTS/MRT หรือ Pocket Sliding Door
จะมีส่วนของประตูที่ยื่นออกมาจากตัวถังรถด้านข้าง อาจจะทำให้เกิดกระแสนลมวน เวลารถวิ่งด้วยความเร็วสูง และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้

Plug-In Door แบบ Desiro
เวลาประตูปิด ประตูจะเรียบสนิทกับตัวถังรถ ทำให้ไม่เกิดกระแสลมวนบริเวณประตูเวลารถวิ่งด้วยความเร็วสูง


Plug In Door on MTR A-Stock EMU จาก ADTranz/CAF (Now, Bombardier Transportation)

http://www.youtube.com/watch?v=RPafwxeIvdU&feature=player_embedded

Plug In Door on Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line (Desiro Class 360/2) จาก Siemens AG

http://www.youtube.com/watch?v=eiRH_NG0AYg&feature=player_embedded

#30 Eak...

Eak...

    สมาชิก Economy Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 881 posts

Posted 03 August 2011 - 07:31 AM

อ่านแล้วรู้สึกแย่จัง... จิงๆแล้วอาจจะผิดพลาดตั้งแต่เริ่มหาสถานที่ตั้งเลยรึป่าว... น่าจะทำ Management และ Marketing ให้ดีๆไปเลย... บ้านเราจะได้มีระบบการขนส่งที่สะดวกสบายกับเค้าบ้าง

#31 Dejudom 777-300ER

Dejudom 777-300ER

    สมาชิก Business Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 2,748 posts

Posted 15 August 2011 - 08:28 PM

รถไฟไทย ห่วยทุกเส้น ( ยกเว้น BTS MRT ) ส่วนธรรมดาก็กึ้ง กั้งครับ ตุ๊ก ตุ๊กขับข้างๆยังแซง

Airport Link ก็มีตัวรถไฟน้อยเกินเหตุ 20 นาทีมา 1 ขบวน แย่จริงๆครับ

พี่น้อง????




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users

ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Galileo (แสดงผล waiting list)     ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Amadeus (เแสดงเฉพาะที่นั่งว่าง)
   
Thailand Web Stat     ติดต่อเจ้าหน้าที่แผนก ตั๋วเครื่องบิน โทร 02-3737-555 / จันทร์ - ศุกร์ 09.00~18.00 น. // เสาร์ 09.00-16.00 น.