Jump to content



 
จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม จองรถเช่า
แผนกบริการลูกค้า โทร 02-3737-555 จันทร์ - เสาร์ 09.00-18.00น.

 

ค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและการบินในเอชไฟล์ท เชิญด้านล่างนี้

หน้าแรก | เว็บบอร์ดรีวิว | จองตั๋วเครื่องบิน | จองโรงแรม | เที่ยวต่างประเทศ | เที่ยวในประเทศ | ลงโฆษณา

สุดทนโวยแอร์พอร์ตลิงก์ห่วยแตก


  • This topic is locked This topic is locked
58 replies to this topic

#21 K.PON

K.PON

    สมาชิก waiting list

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 170 posts

 


Posted 23 October 2010 - 07:43 PM

Advertisements

ก็เข้าใจนะครับว่าสร้างเพื่อเชื่อมสนามบิน ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกับ BTS MRT
แต่ไหนๆก็สร้างมาแล้วทำไมไม่คิดที่จะบริการอย่างอื่นที่นอกเหนือจากการเชื่อมสนามบินอย่างเดียว และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ไม่ใช่ว่าพอคนร้องเรียนไปก็บอกแต่เพียงว่าสร้างเพื่อเชื่อมสนามบินเป็นหลัก ส่วนขนส่งในเมืองคือผลพลอยได้ แล้วจะทำให้มันเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งสองทางไม่ได้เชียวหรือ

เริ่มเปิดก็อาจมีปัญหาบ้าง พอเข้าที่แล้วก็คงจะดีขึ้น :)

  • arq likes this


Advertisements

#22 นายใหญ่

นายใหญ่

    สมาชิกนั่งรถตุ๊กตุ๊ก

  • Premium Members
  • 95 posts
  • LocationBangkok

Posted 23 October 2010 - 08:15 PM

เมื่อวานได้มีโอกาสใช้รถแอร์พอร์ตลิ้งจาก มักกะสัน - สุวรรณภูมิ เหมือนกันครับ

ปรากฎว่าสิ่งที่ได้เจอมีดังนี้
1. คนเยอะมาก บนสถานี พื้นที่บนสถานีก็น้อยมาก เบียดกันแล้ว เบียดกันอีก
2. บนสถานีร้อนมาก (ถ้าติดพัดลมตัวใหญ่ๆ ก็น่าจะช่วยในการระบายอากาศลดความร้อนได้บ้างนะครับ)
3. ไม่มีลูกศรชี้บอกจุดประตูทางเข้าออกของรถ เลยทำให้คนยืนกันเกะกะ พอรถมาก็ไป ออ กันอยู่หน้าประตู มันไม่มีแถว ไม่เป็นระเบียบ เบียดเสียดแย่งกันเข้ารถ ลองไปดู BTS หรือรถใต้ดินสิครับ เขามีทางเข้าออกชัดเจน คนก็ไม่เบียดกัน เป็นแถวเป็นแนว
4. ระยะห่างระหว่างขบวนที่บอกว่า 09 นาที นั้น ความจริงมากกว่านั้น แต่ไม่แน่ใจว่านานแค่ไหน เพราะว่าอากาศร้อนมาก
5. เมื่อระยะห่างระหว่างขบวนเยอะมาก ทำให้ ผู้โดยสารเยอะมาก ส่งผลให้ ผู้โดยสารขึ้นรถแทบไม่ได้เลย น่าสงสารผู้โดยสารที่มีกระเป๋านะครับ กว่าจะเอาตัวเองและสัมภาระเข้าไปได้ แทบหมดแรง หรือว่ารฟท.จะอยากให้เขาหันไปใช้บริการ EXPRESS มากกว่า แต่ลองคิดอีกทาง ที่คนหันมาเลือกแอร์พอร์ตลิ้งเพราะว่าไม่อยากทนกับแท็กซี่หรือรถที่ติด เลยต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย แล้วทำไมเขาต้องไปจ่าย 100 แทนที่จะจ่าย 15 บาทแล้วก็ถึงเหมือนกันได้หล่ะครับ ถ้าความถี่ของการเดินรถถี่กว่านี้ คงไม่ต้องเจอปัญหารอนานแล้วเข้ารถไม่ได้หรอกครับ และถ้าสถานีไม่ร้อนเป็นเตาอบขนาดนี้ ก็คงไม่มีใครโมโหหรอกครับ
6. ระยะทางเดินของ รถไฟฟ้าใต้ดินเพชรบุรี ไป สถานีมักกะสัน ต้องเดินบนฟุตบาท แล้วก็ข้ามถนน 2 เลน จากนั้น ข้ามทางรถไฟต่อ แล้วก็ลากกระเป๋าเข้าไปในตัวอาคาร ซึ่งไกลพอควร ทางลาดให้ลากกระเป๋าขึ้นก็หาไม่เจอ ก็ต้องยกกันไปหนักแค่ไหนก็ต้องทนยก กว่าจะได้ขึ้นรถหมดแรงกันพอดี
7. บันไดขาลงจากสถานีไม่มีบันไดเลื่อน มีแต่บันไดธรรมดาและ ลิฟท์...ซึ่งคนก็แย่งกันใช้มหาศาล....

ดีใจครับที่หลายๆ คนที่ใช้บริการคิดเหมือนกัน คอมเม้นท์ออกมาคล้ายๆ กัน ก็อยากให้ผู้บริหาร รฟท. ที่ทำเรื่องแอร์พอร์ตลิ้งได้อ่าน ความเห็นจากผู้ใช้บริการด้วย จะได้ปรับปรุงให้พวกเราได้ภาคภูมิใจกับรถไฟฟ้าสายนี้เช่นกัน
หวังว่าเสียงของพวกเรา คงไม่หายไปนะครับ


เอาเป็นว่าเราคนไทยก็ยังรอคอยเห็นสิ่งดีๆ ของแอร์พอร์ตลิ้งค์นะครับ

ขอบคุณที่ทำออกมาให้เราได้ใช้บริการ แต่จะขอบคุณมากกว่านี้ถ้าปรับปรุงในสิ่งต่างๆ เพิ่มเข้ามา..


ปลากระป๋องที่ว่าแน่ ยังแพ้่แอร์พอร์ตลิ้งก์ซิตี้ไลน์ช่วงเ่ร่งด่วน
  • Some user likes this

#23 nutnano

nutnano

    สมาชิก Economy Class

  • Sponsor Member
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 843 posts
  • LocationSARL Phaya Thai Station

Posted 23 October 2010 - 08:58 PM

หลายๆ ท่านยังคงเข้าใจผิดในหลายๆ ประเด็นอยู่ เลยขออนุญาตชี้แจงข้อมูลให้ทราบ

3. ไม่มีลูกศรชี้บอกจุดประตูทางเข้าออกของรถ เลยทำให้คนยืนกันเกะกะ พอรถมาก็ไป ออ กันอยู่หน้าประตู มันไม่มีแถว ไม่เป็นระเบียบ เบียดเสียดแย่งกันเข้ารถ ลองไปดู BTS หรือรถใต้ดินสิครับ เขามีทางเข้าออกชัดเจน คนก็ไม่เบียดกัน เป็นแถวเป็นแนว


เรื่องประตูทางเข้า และจุดตำแหน่งจอดรถ เคยคอมเม้นท์ไปทาง SRTET ผ่านทางช่องทางต่างๆ หลายที่แล้ว แต่ยังไม่เห็นการพัฒนาเสียที

เห็นบางสถานีก็มี แต่เป็นกระดาษกาวติดเอาไว้ (หัวหมาก, พญาไท ชานชาลาที่ 2)

เรื่องประตูของขบวนรถ ซึ่งมี 2 ประตู ต่อด้านต่อตู้ มันน้อยเกินไปที่จะรองรับจำนวน ผดส. จำนวนมากๆ ได้ ถึงแม้ว่ารถไฟสายนี้จะเป็น Commuter มากกว่า Metro อย่างน้อย 4 ประตูต่อตู้ต่อด้านก็ยังดี

แต่เคยโดนทางเว็บที่บ้าการโดยสารโดยรถไฟว่า 2 ประตูต่อตู้ นั้นเพียงพอแล้ว


4. ระยะห่างระหว่างขบวนที่บอกว่า 09 นาที นั้น ความจริงมากกว่านั้น แต่ไม่แน่ใจว่านานแค่ไหน เพราะว่าอากาศร้อนมาก


เข้าใจว่าเป็นระบบออโต้ และรถไฟเกิดการ Delay ซึ่งสาเหตุของการดีเลย์ของ SARL นั้นมีอยู่ดังนี้
1.รถ City Line จอดรอหลีกที่สถานีหัวหมาก
2.ผดส.ไร้ระเบียบวินัย อันนี้ไม่ต้องไปดูแอร์พอร์ตลิ้งค์ก็ได้ BTS และ MRT ก็เป็น แต่แอร์พอร์ตลิ้งมันเห็นผลกระทบชัดที่สุด บางครั้ง สัญญาณปิดประตูดังแล้ว แต่พวกคุณๆ ก็ยังเบียดเสียดแย่งกันเข้ามา ทั้งๆ ที่บางทีมันเข้าไม่ได้แล้ว พขร.เลยต้องพยายามปิดประตูหลายครั้ง เลยทำให้เสียเวลา


ถ้าความถี่ของการเดินรถถี่กว่านี้ คงไม่ต้องเจอปัญหารอนานแล้วเข้ารถไม่ได้หรอกครับ และถ้าสถานีไม่ร้อนเป็นเตาอบขนาดนี้ ก็คงไม่มีใครโมโหหรอกครับ


ทาง SRTET เขาก็อยากจะเพิ่มความถี่ให้ แต่การจะเพิ่มความถี่ในการเดินรถนั้น ต้องดูหลายๆ ปัจจัย ไม่ใช่ ผดส.จะเอาแบบใจเร็วด่วนได้ก็ไม่ใช่

ปัจจัยต่างๆ ที่ยังทำให้ SRTET เขาเพิ่มความถี่ไม่ได้ มีดังนี้
1.ขบวนรถ City Line ในปัจจุบันมีอยู่เพียง 5 ขบวน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเพิ่มความถี่อย่างแน่นอน
2.การเพิ่มความถี่ของ City Line จะต้องไม่มีผลกระทบต่อการเดินรถ Express Line
3.รางหลีกให้รถ City Line จอด โดยที่ Express Line สามารถวิ่งแซงได้มีอยู่ที่สถานีหัวหมาก เพียงสถานีเดียว ถ้าเขาทำรางหลีกสำหรับ City Line ไว้ทุกสถานี ก็สามารถเพิ่มความถี่ได้ไม่อั้น

รถไฟฟ้าสายนี้ เขาออกแบบมาให้เป็น Commuter ซึ่งขนคนจากชานเมืองสู่ใจกลางเมืองอย่าวรวดเร็ว เพื่อป้อนให้กับระบบ Metro หรือ Rapid Transit ซึ่งรถ Commuter นั้น จะมีสถานีน้อย แต่ละสถานีมีระยะทางห่างกันมาก ระยะเวลาในการออกของแต่ละขบวนก็ห่างกันมากด้วย (ตัวอย่างของ Commuter ที่เห็นได้ชัดเลยคือ Tung Chung Line, East Rail Line, West Rail Line ของ MTR ซึ่งหลายท่านในนี้ก็เคยได้ไปลองนั่งมาแล้ว)

เข้าใจว่ารถไฟฟ้าสายนี้ เป็นสายแรกในประเทศไทยที่มีการเดินรถแบบ Commuter (ไม่นับรถไฟข้างล่าง อันนั้นดีเลย์ได้ตลอดชาติ)
ซึ่งคนในบ้านเราส่วนใหญ่ เน้นว่าส่วนใหญ่เลย จะติดภาพของ BTS และ MRT ซึ่งเป็น Metro หรือ Rapid Transit ที่มา 2-3 นาทีต่อขบวน พอมาเจอ Commuter ที่รอนานๆ ก็ออกมาโวยวายกัน (พวกวิศวกรเขาคาดการเรื่อง ผดส.ออกมาโวยเรื่องรอรถนานตั้งแต่ทดสอบระบบใหม่ๆ แล้ว)

และนอกจากนี้ ผมยังเชื่ออีกว่า หากรถไฟฟ้าสายสีแดงที่เป็น Commuter Service เปิดให้บริการ จะยังมีผู้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง Metro (Rapid Transit) กับ Commuter ออกมาโวยวายอีก เหตุเพราะ รอรถนาน


เค้าออกแบบสถานีแบบทึบ ๆ คิดว่า กทม.อยู่เมืองหนาว


แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป หลายคนอาจจะบอกว่าสถานี BTS ดีไซน์สวย แต่ผมอยากจะให้มองอีกด้านว่า การใช้งานมันแย่มาก อย่างเมื่อสัปดาห์ก่อน ที่ฝนตกอย่างหนักใน กทม. สถานีรถไฟฟ้า BTS ทุกสถานีนั้น เปียกชุ่มไปด้วยน้ำทุกตารางไมโครเมตร เดินในสถานียังต้องกางร่ม โดยเฉพาะพญาไทเนี่ยแหละ เทียบกับ SARL ให้เห็นชัดๆ กันไปเลย เดินบนสถานี SARL ได้อย่างสบายใจไม่ต้องกางร่ม ฝนไม่สาด แต่เดินบนสถานี BTS ต้องกางร่ม ทั้งๆ ที่มีหลังคาอยู่บนหัวนะ

Don't compare Airport Rail Link to BTS or MRT. They privide different kinds of services.


Yes, I'm absolutely agree with you.

SARL is commuter service but BTS and MRT are metro (rapid transit) service.


เท่าที่สังเกตดู แผ่นฝาผนังของอาคารสามารถเลื่อนปิดเปิดได้นะ

แต่ที่ผ่านมาฝนตก เลยเลื่อนฝาปิด เลยทำให้อากาศร้านก็เป็นได้ครับ


เปิดปิดได้ยังไงหรือ ช่วยอธิบายหน่อยสิครับ เพราะผมเห็นมันก็เป็นแบบนี้อยู่ทุกวัน ไม่ได้เลื่อนเปิดปิดอะไรได้เลย

ประตูมันดังอย่างน่าตกใจจริงๆครับ
พร้อมกับตอนเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟ ตู้กลางจะเสียงดังมาก


ผมได้ชี้แจงข้อมูลเรื่องประตูและสายส่ง Overhead Line รวมทั้ง Neutral Zone ไว้แล้วในกระทู้นี้ เกี่ยวกับ Airport Rail Link

สามสิบนาทีต่อขบวน แล้วมีแค่สามตู้ เห้อๆๆๆ คนเต็มสิครับ ยิ่งช่วงเวลาเร่งด่วนนี่ไม่ต้องหวังเลย แน่นยิ่งกว่าปลากระป๋องสามแม่ครัว - -


ช่วงโปรโมชั่น (เปิดการใช้งานเชิงพาณิชย์)
รถไฟฟ้าสาย City Line ความถี่ 15 นาทีต่อ 1 ขบวน ราคาค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย (เที่ยวเดียว) ใช้เวลาวิ่งจากต้นทางถึงปลายทางประมาณ 25 นาที
รถไฟฟ้าสาย Express Line ความถี่ 30 นาทีต่อ 1 ขบวน ราคาค่าโดยสาร 100 บาท ไป-กลับ ภายในวันเดียวกัน ใช้เวลาวิ่งจากต้นทางถึงปลายทางประมาณ 13 นาที

  • ★TITLE★, lovetofly and Some user like this

#24 ★TITLE★

★TITLE★

    สมาชิก Economy Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 834 posts
  • LocationBKK,UBP,Thammasat

Posted 23 October 2010 - 09:49 PM

ช่วงที่เปิดให้บริการเป็นฤดูฝนและผมก็ได้ใช้บริการ แต่ผมก็ยังเห็นว่าสถานีของARLพื้นเปียกนะครับ ไม่รู้ว่าฝนมันสาดเข้ามาได้อย่างไร
มั่นใจตาไม่ฝาดแน่ๆ เคยเห็นพื้นสถานีลาดกระบังชุ่มไปด้วยน้ำเหมือนกัน ทั้งๆที่มีกันสาด สงสัยฝนตกหนักมั้ง แต่ผมก็เห็นสองสามครั้งนะครับที่เปียก

เข้าใจครับว่าเป็นcommuter service แต่สิ่งที่เป็นอยู่มันดีแล้วหรือครับ?? กับสถานีร้อนๆ ไม่มีที่รอเพียงพอ ไม่มีบันไดเลื่อนลง จริงอยู่ที่มีลิฟต์แต่มันก็น้อยมากๆ มีแต่คนบ่น ซึ่งคนที่บ่นๆก็เป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการและทำรายได้ให้การรถไฟ ไม่ใช่ใครอื่นไกล ทุกๆคนติก็เพื่ออยากให้ออกมาดีที่สุ็ด

ซึ่งถ้าหากว่ามีอะไรที่มันแก้ไขไม่ได้ หรือประชาชนไม่เข้าใจมากพอ การรถไฟก็น่าจะออกมาชี้แจง หรือปรับอะไรๆให้มากกว่านี้หน่อย ไม่ใช่ปล่อยแบบนี้ อย่างน้อยชี้แจงทางสื่อก็ดีครับ อย่างป้ายกระดาษก็ยังมีอยู่

แต่ทั้งนี้ก็เป็นกำลังใจให้เป็นระบบขนส่งที่ดีและถูกใจประชาชนให้ได้ครับ เชื่อว่าเมื่อเปิดเต็มรูปแบบน่าจะดีขึ้น :D

#25 nutnano

nutnano

    สมาชิก Economy Class

  • Sponsor Member
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 843 posts
  • LocationSARL Phaya Thai Station

Posted 23 October 2010 - 10:08 PM

ช่วงที่เปิดให้บริการเป็นฤดูฝนและผมก็ได้ใช้บริการ แต่ผมก็ยังเห็นว่าสถานีของARLพื้นเปียกนะครับ ไม่รู้ว่าฝนมันสาดเข้ามาได้อย่างไร
มั่นใจตาไม่ฝาดแน่ๆ เคยเห็นพื้นสถานีลาดกระบังชุ่มไปด้วยน้ำเหมือนกัน ทั้งๆที่มีกันสาด สงสัยฝนตกหนักมั้ง แต่ผมก็เห็นสองสามครั้งนะครับที่เปียก


หากคุณลองดู พท. ที่ตั้งของสถานีลาดกระบัง จะเห็นว่า ต้องอยู่ริมทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 บริเวณใกล้ๆ กับสถานีรถไฟลาดกระบัง ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่ง การที่มีน้ำฝนสาดเข้ามาได้มีปัจจัยหลายอย่าง คือ
1.ฝนตกหนักมาก และลมพัดแรง
2.น้ำกระเด็นมาจากรถ Express Line ที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูง


เข้าใจครับว่าเป็นcommuter service แต่สิ่งที่เป็นอยู่มันดีแล้วหรือครับ?? กับสถานีร้อนๆ ไม่มีที่รอเพียงพอ ไม่มีบันไดเลื่อนลง จริงอยู่ที่มีลิฟต์แต่มันก็น้อยมากๆ มีแต่คนบ่น ซึ่งคนที่บ่นๆก็เป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการและทำรายได้ให้การรถไฟ ไม่ใช่ใครอื่นไกล ทุกๆคนติก็เพื่ออยากให้ออกมาดีที่สุ็ด


เรื่อง Facility ในสถานี ผมขออนุญาตไม่ตอบละเอียดมาก เพราะไม่ได้ทำงานให้ SRTET (ผมถือหลัก อะไรที่ดีก็ชมเขา อะไรที่แย่ก็ติ คนเข้าใจอะไรผิด ก็อยากชี้แจงให้เข้าใจให้ถูก)

เรื่อง Facility ต้องโทษวิศวกร หรือสถาปนิก ผู้ออกแบบสถานี เขาอาจจะไม่ได้คำนึงถึงว่า จะมี ผดส.สนามบิน แห่กันมาใช้ City Line เยอะขนาดนี้
เพราะมี Express Line วิ่งแล้ว และ Facility หลายๆ อย่างของ Express Line นั้นมีพร้อมมากกว่า ทั้งบันไดเลื่อนลง และลิฟท์

ส่วน City Line ตอนเขาออกแบบ เขาคงคำนึงถึงแค่ว่า ผดส.ที่มาใช้บริการ คงเป็น ผดส.รายทางทั่วๆ ไป ไม่ต้องติดตั้งบันไดเลื่อนขาลง หรือลิฟท์ความจุสูงไว้ให้บริการ เอาแค่ลิฟท์ไว้ให้ผู้ที่นั่งวีลแชร์พอ โดยใช้มาตรฐานการจัด Facility ไว้เหมือนกับสถานีของ BTS ที่มีแต่บันไดเลื่อนขาขึ้น และลิฟท์สำหรับผู้พิการเท่านั้น

และอีกประเด็นที่หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบ คือ สถานีของโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ Suvarnabhumi Airport Rail Link นั้นตั้งอยู่บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บนแนวเขตทางเส้นทางรถไฟสายตะวันออก หรือ SRT Eastern Line โดยในการก่อสร้างสถานีส่วนใหญ่ มีการเวนคืนพื้นที่น้อยมากเมื่อเทียบกับโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง โดยการก่อสร้างสถานีจะให้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟเท่านั้น

ทีนี้ก็ต้องมาดูกันต่อว่า เขตทางที่มีไว้สำหรับการก่อสร้างสถานี มีความกว้างเท่าไหร่ เท่าที่ผมสังเกต จะตั้งอยู่ในที่ดินการรถไฟเท่านั้น ไม่ได้มีการรุกล้ำไปยังพื้นที่ของชาวบ้าน และในพื้นที่ที่จำกัด คงไม่สามารถจับ Facility ทุกอย่างเข้าไปในสถานีที่อยู่บนพื้นที่แคบๆ ได้


ซึ่งถ้าหากว่ามีอะไรที่มันแก้ไขไม่ได้ หรือประชาชนไม่เข้าใจมากพอ การรถไฟก็น่าจะออกมาชี้แจง หรือปรับอะไรๆให้มากกว่านี้หน่อย ไม่ใช่ปล่อยแบบนี้ อย่างน้อยชี้แจงทางสื่อก็ดีครับ อย่างป้ายกระดาษก็ยังมีอยู่


ผมไม่หวังเรื่องการชี้แจงจาก SRTET หรอกครับ เพราะว่าเคยขึ้นรอบทดสอบที่ให้ขึ้นฟรี แล้วประตูรถหมายเลข 2041 มีปัญหา (สายพานขาด) ที่สถานีหัวหมาก ผมได้ซักถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ถึงทุกวันนี้กลับยังไม่ได้รับการชี้แจงใดๆ ทาง SRTET หรือการรถไฟแห่งประเทศไทย

หรืออแม้แต่ การจัดรถเสริม หัวหมาก - พญาไท ในช่วงเช้า กลับไม่มีการประชาสัมพันธ์ใดๆ จาก ทาง SRTET หรือการรถไฟแห่งประเทศไทยเลย ปล่อยให้ผู้โดยสารจากพญาไท ไปสุวรรณภูมิในช่วงเช้า งงเป็นไก่ตาแตก ทำไมคนรอแน่นๆ กลับมีขบวนรถไม่มีผู้โดยสารออกจากสถานีพญาไทไป

  • ★TITLE★ likes this

#26 6-pm

6-pm

    สมาชิกนั่งรถตุ๊กตุ๊ก

  • Members
  • PipPip
  • 52 posts

Posted 23 October 2010 - 10:11 PM

ทำทีเดียวให้มันเลิศไปเลยไม่ได้เหรอ คือไม่ใช่ทำแล้วทำอีก ลื้อนั่น พังนี่ โละนั้น ซ่อมนี้ทั้งๆที่ไม่ใช่ประเทศแรกที่มีแอร์พอร์ตลิงค์ ประเทศอื่นๆเค๊ามีกันมานานแล้ว มีของดีๆให้เห็นเพียบ แล้วที่ไปดูงานกันไม่รู้ไปกันทำไม ทำไมไม่เอาสิ่งดีๆ มาสร้างก็ไม่รู้ เห็นของดีๆจากต่างประเทศก็เพียบไปหมด แต่กลับไม่ทำหรือทำไม่ได้ซึ่งก็ต้องมีเหตุผลที่ดี กระเป๋าใบเท่าช้างแต่ต้องแบกขึ้นลงบันได หรืออาจจะมีเหตุผลว่าอยากให้คนไทยออกกำลังกายก่อนออกเดินทาง คือไม่ได้หวังว่าจะต้องเยี่ยมกว่าต่างประเทศหรอกครับ เอาแค่พอๆสูสีกับเค๊า แค่นี้คนไทยก็ดีใจมากแล้วคับ ยังไงก็รักประเทศไทยสุดๆอยู่แล้ว เอาใจช่วยกลุ่มผู้บริหารและผู้ดูแลแอร์พอร์ตลิงก์ก็แล้วกัน คงจะโดนบ่นไม่ใช่น้อย สู้ๆๆคับ

#27 Annika

Annika

    สมาชิกใหม่กิ๊ก

  • Members
  • 8 posts

Posted 23 October 2010 - 10:17 PM

ได้คนที่ไม่มีความสามารถเข้ามาบริหารจัดการ
มันก็ได้แค่นี้ละค่ะ

  • Jomie likes this

#28 Jomie

Jomie

    สมาชิก Business Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 1,574 posts
  • LocationBKK

Posted 23 October 2010 - 11:31 PM

คือผมไม่เข้าใจว่าแค่ติดตั้งบันไดเลื่อนเพิ่มมันต้องใช้พื้นที่เยอะขนาดนั้นเชียวหรอครับ

#29 nutnano

nutnano

    สมาชิก Economy Class

  • Sponsor Member
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 843 posts
  • LocationSARL Phaya Thai Station

Posted 23 October 2010 - 11:43 PM

คือผมไม่เข้าใจว่าแค่ติดตั้งบันไดเลื่อนเพิ่มมันต้องใช้พื้นที่เยอะขนาดนั้นเชียวหรอครับ


การติดตั้งบันไดเลื่อน ไม่ใช่อยากติดก็ติดได้เลย มันจะต้องดูด้วยว่า พื้นที่ที่จะติดตั้งเหมาะสมหรือไม่ เมื่อติดตั้งไปแล้ว บันไดธรรมดาที่สามารถใช้เป็นบันไดหนีไฟ บันไดฉุกเฉินมีเพียงพอหรือไม่

ซึ่งการจะทำอะไรนั้น จะมีวิศวกรอิสระ (Independent safety and system Certification Engineer :ICE) เข้ามาตรวจสอบว่าการติดตั้งนั้น ได้มาตรฐานหรือไม่ ทางออกฉุกเฉินมีเพียงพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอ วิศวกร ICE มีอำนาจพอที่จะสามารถปิดการให้บริการของสถานีนั้นได้

แค่ทุกวันนี้ สถานีธรรมดา บันไดเลื่อนขึ้นชานชาลา ฝั่งละ 1 ชุด ลิฟท์ผู้พิการขึ้นชานชาลาฝั่งละ 1 ชุด กว่าจะได้ใบรับรองจาก ICE นี่ก็แทบแย่แล้ว


#30 Tanasap HKT / BKK

Tanasap HKT / BKK

    สมาชิกใหม่กิ๊ก

  • Members
  • 15 posts

Posted 24 October 2010 - 12:12 AM

>อะไรที่ให้รฟท.บริหารก็มักเป็นอย่างน

#31 Flight Mania

Flight Mania

    สมาชิก Business Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 2,453 posts

Posted 24 October 2010 - 03:19 AM

ไหนๆก็มีคนยกเรื่อง commuter train มาแล้วก็ดีครับ

ผมมองว่าเนื้อแท้ ยังคงเป็น rapid transit ครับ ต่อให้พยายาม position ตัวเองว่าไม่ใช่ แต่ product มันออกมาแบบนี้

commuter train นี่ตัวอย่างน่าจะเป็นพวก วงเวียนใหญ่-มหาชัย แบบนั้นครับ ที่สามารถขนส่งคนหมู่มากในระยะทางกลางๆอย่างรวดเร็ว ขนาด BTS ผมยังมองว่าไม่สามารถรองรับคนเยอะได้เลยในเวลาเร่งด่วน(เพราะขี้งก) เพิ่มความถี่ไม่ใช่ทางออกเพราะเพิ่มไม่ได้ รางมันมีแค่นั้น ไหนจะซ้ำซ้อนกับ express อีก (งกเหมือน BTS ข้ามเจ้าพระยารางเดียว)พอมาสร้างลอยฟ้าเลยไปกันใหญ่

บางเรื่องผมยังเซ็งเลย เช่นว่า ทำไมชอบสร้างลอยฟ้า(แบบ BTS อีกแล้ว) ก็รู้ว่าถูกกว่า แต่มองระยะยาวบ้างสิ ทำกันใจกลางเมืองใหญ่ๆ เสียพื้นที่จราจร เสียโอกาสในการขยายเส้นทาง เส้นทางต้องซ้อนบนถนนหรือที่ว่างยาวๆ ดูศักยภาพที่จะเกิดขึ้นได้สิ ลองดู Tokyo London Paris New York ดูสิ ใต้ดินซับซ้อนและสะดวกได้ขนาดไหน

ตัวอย่างที่ชัดเจนสุดที่ผมนึกออกคือ Seoul ครับ 10 ปีก่อน ที่นั่นยังมีแค่ 4 สาย 10 ปีผ่านไป นอกจากสายเดิมๆจะต่อขยายแล้ว ยังมีเพิ่มอีก 5 สาย แล้วกรุงเทพหละครับ BTS (โทษนะครับที่วันนี้สับซะเยอะเลย)จะ 10 ปี สามารถทำให้ กทม สร้างสถานีเพิ่มให้ 2 แห่ง มองโลกในแง่ดี อ่อนนุชที่ต่อขยายเป็นรูปเป็นร่างมากๆแล้ว แต่ MRT หละ ไร้วี่แวว

ผมแค่อยากจะฝากว่า บางทีโครงการใหญ่ๆแบบนี้ ควรจะมองระยะยาว 40-50 ปี ไม่ใช่ สร้างเสร็จจบ BTS หรือ SARL ดูเผินๆแล้ว น่าจะไปได้ดี แต่ระยะยาวหละ 30 ปีจากนี้ บังเอิญว่าเมืองขยายไปทางนั้น ลาดกระบังเจริญขึ้นมาก สุวรรณภูมิ มี 3-4 terminal มี runway เพิ่ม คิดว่าสลับรางไปๆมาๆแบบนี้จะรองรับคนเพิ่มได้แค่ไหนกัน

ผมยอมรับเลยว่าที่ผมพูดหนะมันง่าย ทำจริงๆมันยาก แต่ถ้าปราศจากอำนาจมืดแล้ว ผมเชื่อว่าที่ยากๆเนี่ย จะง่ายขึ้นเยอะเลย
  • Some user likes this

#32 nutnano

nutnano

    สมาชิก Economy Class

  • Sponsor Member
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 843 posts
  • LocationSARL Phaya Thai Station

Posted 24 October 2010 - 10:27 AM

ไหนๆก็มีคนยกเรื่อง commuter train มาแล้วก็ดีครับ

ผมมองว่าเนื้อแท้ ยังคงเป็น rapid transit ครับ ต่อให้พยายาม position ตัวเองว่าไม่ใช่ แต่ product มันออกมาแบบนี้

commuter train นี่ตัวอย่างน่าจะเป็นพวก วงเวียนใหญ่-มหาชัย แบบนั้นครับ ที่สามารถขนส่งคนหมู่มากในระยะทางกลางๆอย่างรวดเร็ว ขนาด BTS ผมยังมองว่าไม่สามารถรองรับคนเยอะได้เลยในเวลาเร่งด่วน(เพราะขี้งก) เพิ่มความถี่ไม่ใช่ทางออกเพราะเพิ่มไม่ได้ รางมันมีแค่นั้น ไหนจะซ้ำซ้อนกับ express อีก (งกเหมือน BTS ข้ามเจ้าพระยารางเดียว) พอมาสร้างลอยฟ้าเลยไปกันใหญ่


รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถูกจัดวางให้อยู่ในกลุ่ม Commuter และเป็น Commuter อย่างชัดเจนด้วย ถึงแม้ว่า จะมีคนเอาเรื่องการเพิ่มความถี่มาอ้างว่าสามารถเพิ่มได้สูงสุด เท่านั้นเท่านี้ขบวนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง มายัดเยียดให้ SARL เป็น Rapid Transit ให้ได้

รถไฟฟ้าสายนี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เขาออกแบบมาให้เพื่อรองรัยผู้คนที่เดินทางไปสนามบิน แต่สถานีรายทางนั้นเป็นผลพลอยได้

ซึ่งตามแผนการจัดสร้างจริงๆ แล้ว จะมีรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง บางซื่อ - มักกะสัน - หัวหมาก - หัวตะเข้ สร้างขนานไปกับ SARL ซึ่ง SARL จะเป็นตัวรับภาระให้แก้ผู้ที่จะไปสนามบินไป ส่วนคนที่ใช้เดินทางปกติ จะให้สายสีแดงเป็นตัวรับภาระอันนี้ (หลายคนรวมทั้งคนส่วนใหญ่ในนี้คงยังไม่ทราบ เพราะการประชาสัมพันธ์เรื่องรถไฟฟ้าสายสีแดงยังไม่ดีพอ)

ยังไง Commuter Train ก็คือ Commuter Train ไม่สามารถที่จะทำอะไรหลายๆ อย่างเหมือน Rapid Transit ได้

ส่วน BTS นั้น เป็น Metro หรือ Rapid Transit ไม่ใช่ Commuter แบบที่คุณเข้าใจ


บางเรื่องผมยังเซ็งเลย เช่นว่า ทำไมชอบสร้างลอยฟ้า (แบบ BTS อีกแล้ว) ก็รู้ว่าถูกกว่า แต่มองระยะยาวบ้างสิ ทำกันใจกลางเมืองใหญ่ๆ เสียพื้นที่จราจร เสียโอกาสในการขยายเส้นทาง เส้นทางต้องซ้อนบนถนนหรือที่ว่างยาวๆ ดูศักยภาพที่จะเกิดขึ้นได้สิ ลองดู Tokyo London Paris New York ดูสิ ใต้ดินซับซ้อนและสะดวกได้ขนาดไหน

ตัวอย่างที่ชัดเจนสุดที่ผมนึกออกคือ Seoul ครับ 10 ปีก่อน ที่นั่นยังมีแค่ 4 สาย 10 ปีผ่านไป นอกจากสายเดิมๆจะต่อขยายแล้ว ยังมีเพิ่มอีก 5 สาย แล้วกรุงเทพหละครับ BTS (โทษนะครับที่วันนี้สับซะเยอะเลย)จะ 10 ปี สามารถทำให้ กทม สร้างสถานีเพิ่มให้ 2 แห่ง มองโลกในแง่ดี อ่อนนุชที่ต่อขยายเป็นรูปเป็นร่างมากๆแล้ว แต่ MRT หละ ไร้วี่แวว


ส่วนเรื่องที่ต้องสร้างลอยฟ้านั้น จริงๆ แล้วเขาก็อยากจะทำเป็นใต้ดิน แต่ติดปัญหาอยู่ที่เงิน ประเทศไทยไม่ได้รวยอะไรขนาดนั้น การก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ นอกจากจะต้องดูรูปแบบความเหมาะสมแล้ว จะต้องดูเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นด้วย

ส่วน BTS นั้น ตอนเริ่มต้นเป็นเงินลงทุนของเอกชน ส่วนเรื่องส่วนต่อขยายนั้น กทม. เป็นผู้รับผิดชอบ และตรงสถานีสะพานตากสินไม่ขอพูดถึง ถ้าคุณอยากรู้ปัญหาลึกๆ ลองไปค้นคว้าศึกษาเอง ข้อมูลในเน็ตหลายที่ก็มีบอกอยู่

เรื่องตู้ของ BTS ที่ตอนนี้ไม่พอนั้น ตอนแรกที่เปิดให้บริการมีจำนวนตู้เพียง 3 ตู้ต่อขบวน เข้าใจว่าจากบริษัทคงคาดการณ์จำนวนผู้โดยสารไว้เพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามทาง BTSC ก็ไม่ได้นึ่งนอนใจที่ไม่ได้ทำอะไรเลย

ตอนนี้รถไฟฟ้าแบบที่มี 4 ตู้ 12 ขบวน ก็ได้ถูกจัดเตรียมไว้ที่อู่หมอชิตแล้ว รอทดสอบระบบให้สมบูรณ์ จะนำออกวิ่งในสายสีลม ส่วนรถเดิมของสายสีลม จะนำมาเพิ่มความถี่ในสายสุขุมวิท นอกจากนี้ ยังได้มีการสั่งซื้อตู้เพิ่มจากทาง Siemens เพื่อนำมาเสริมให้กับรถสายสุขุมวิท เป็น 4 ตู้ต่อขบวนเช่นเดียวกัน

เรื่อง MRT นั้น ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่ รฟม. การที่ BMCL จะเสริมหรือจะทำอะไรนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทาง รฟม. ก่อน (ข้อนี้ถ้าไม่ใช่คนวงใน จะไม่ทราบ) ถ้า รฟม. ไม่เห็นชอบ ประเด็นก็จะตกไป

เรื่องส่วนต่อขยายของ MRT สายสีน้ำเงิน ตอนนี้ก็มีแค่ช่วง บางซื่อ - เตาปูน จำนวน 1 สถานี ที่กำลังก่อสร้าง เพื่อไปเชื่อมต่อกับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง เตาปูน - บางใหญ่ ที่สถานีเตาปูน ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไม รฟม. ก่อสร้างอะไรช้ามาก เป็นเพราะว่า รฟม. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม การก่อสร้างโครงการอะไร จะต้องใช้เงินกู้จากภาครัฐ กระทรวงการคลังเข้ามาด้วย ซึ่งหลักการใช้เงินจากรัฐบาลนั้นมันมีระเบียบอยู่ หลายโครงการจึงยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างเสียที โดยเฉพาะ สายสีส้ม บางกะปิ - ตลิ่งชัน ที่ถูกดองไว้หลายปีแล้ว

อ้อ แล้วอยากจะบอกคุณ Flight Mania ให้เป็นความรู้ไว้ว่า รถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในกรุงเทพมาหนครและปริมณฑลอีกหลายๆ สายนั้นเป็นระบบลอยฟ้า อาทิเช่น

1.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง เตาปูน - บางใหญ่
- เป็นโครงสร้างยกระดับตั้งแต่สถานีเตาปูน ไปจนถึง Depot ที่สถานีคลองบางไผ่

2.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย บางซื่อ - ท่าพระ
- เริ่มยกระดับจาก สถานีบางซื่อ ผ่านสถานีเตาปูน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา วิ่งยกระดับเหนือถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปจนถึงสี่แยกท่าพระ

3.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง - บางแค
- เริ่มยกระดับเมื่อลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำเจ้าพระยามาแล้ว บริเวณถนนอิสรภาพ เข้าสู่สถานีท่าพระ ยกระดับไปตามถนนเพชรเกษม

4.รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง หัวหมาก - มักกะสัน - บางซื่อ
- เป็นโครงสร้างยกระดับตั้งแต่สถานีหัวหมาก (สถานีใหม่ ใกล้ๆ กับ สถานีหัวหมากของ SARL ที่ต้องแยกสถานี เพราะใช้รางกว้างไม่เท่ากัน SARL ใช้ราง 1435 mm ส่วนสายสีแดงใช้ราง 1000 mm) ยกระดับมาจนถึงสถานีมักกะสัน (สถานีแยกออกมาต่างหากจาก BCAT หรือสถานีมักกะสันของ SARL) แล้วค่อยๆ ลดระดับต่ำกว่าระดับดินที่บริเวณใต้ทางด่วน ผ่านถนนพญาไท ไปตามทางรถไฟสายเหนือเดิม และยกระดับเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ บริเวณถนนประดิพัทธิ์

5.รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง บางซื่อ - รังสิต
- เป็นโครงสร้างยกระดับจากสถานีกลางบางซื่อ ไปตามเส้นทางรถไฟสายเหนือ จนถึงสถานีดอนเมือง จากนั้นค่อยๆ ลดระดับลงสู่ระดับดิน

6.รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง บางซื่อ - ตลิ่งชัน
- เป็นโครงสร้างยกระดับจากสถานีกลางบางซื่อ ไปตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกใหม่ จากนั้นค่อยๆ ลดระดับลงสู่ระดับดิน

7.รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วง แบริ่ง - สมุทรปราการ, หมอชิต - สะพานใหม่ - ลำลูกกา (คลอง 4), วงเวียนใหญ่ - บางหว้า, สนามกีฬาแห่งชาติ - ยศเส
- เป็นโครงสร้างยกระดับเหมือนกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) เดิม



ผมแค่อยากจะฝากว่า บางทีโครงการใหญ่ๆแบบนี้ ควรจะมองระยะยาว 40-50 ปี ไม่ใช่ สร้างเสร็จจบ BTS หรือ SARL ดูเผินๆแล้ว น่าจะไปได้ดี แต่ระยะยาวหละ 30 ปีจากนี้ บังเอิญว่าเมืองขยายไปทางนั้น ลาดกระบังเจริญขึ้นมาก สุวรรณภูมิ มี 3-4 terminal มี runway เพิ่ม คิดว่าสลับรางไปๆมาๆแบบนี้จะรองรับคนเพิ่มได้แค่ไหนกัน

ผมยอมรับเลยว่าที่ผมพูดหนะมันง่าย ทำจริงๆมันยาก แต่ถ้าปราศจากอำนาจมืดแล้ว ผมเชื่อว่าที่ยากๆเนี่ย จะง่ายขึ้นเยอะเลย


กรณีของ SARL ถ้ามองในมุมมองว่า อนาคต มีการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะต้องรองรับ ผดส. จำนวนมากๆ ได้ อันนี้โอเค เห็นด้วย

แต่ถ้าไปมองในมุมมองว่า อนาคต จะมีโครงการบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ขึ้นตามรายทางของโครงการ อันนี้ผมไม่เห็นด้วยที่โครงการเหล่านี้จะเอา SARL มาเป็นจุดขาย เพราะว่าอะไรนะหรือ?

ในปัจจุบัน ปีๆ นึง โครงการบ้านจัดสรรขึ้นเป็นร้อยเป็นพันโครงการ จะให้ไปตามศึกษาจำนวนยูนิต และผู้อยู่ในอาศัยในโครงการ มันก็ไม่สมควรเท่าไหร่ ไม่งั้นก็ต้องศึกษากันทุกปี


#33 Fanclub FD

Fanclub FD

    สมาชิก waiting list

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 162 posts
  • LocationBKK,TH

Posted 24 October 2010 - 12:02 PM

ยังไม่ลองใช้เลยอ่ะครับ ได้ยินแบบนี้ คงไม่ได้ไปใช้แล้วหล่ะครับ... <_<

#34 WoNToN

WoNToN

    สมาชิกปั่นจักรยาน

  • Members
  • Pip
  • 30 posts

Posted 24 October 2010 - 01:48 PM

ยังไม่ลองใช้เลยอ่ะครับ ได้ยินแบบนี้ คงไม่ได้ไปใช้แล้วหล่ะครับ... <_<


เง้อ มันไม่ได้เลวร้ายขนาดน้านอ่ะค้าบ ไปลองนั่งเล่นซักทีก็ได้คับ หุหุ

#35 Ayothaya

Ayothaya

    สมาชิกปั่นจักรยาน

  • Members
  • Pip
  • 46 posts
  • Locationกรุงเก่า และ เมืองย่าโม

Posted 24 October 2010 - 03:37 PM

ไม่ได้เลวร้าย แต่ร้อนจริงๆ ใครอยากอบซาวน่าในราคาสิบห้าบาทเชิญคะ

อ้อ ที่แน่ๆตอนนี้โครงการคอนโดมิเนียมตามรายทางสถานีต่างๆ ก็ต่างชูจัดขายใกล้ SARL แล้วค่ะ ทั้งดีคอนโดรามคำแหง คอนโดแถวๆราชปรารภทั้งเวิฟและอื่นๆ แถวๆมักกะสันด้วย และดิชั้นเชื่อว่าเค้าจะเอามาเป็นจุดขายตรงที่มันสามารถไปสนามบินได้ง่าย และไปเชื่อมกับบีทีเอสและMRTได้

งั้นเรื่องรถไฟต่างประเทศที่ทำเร็วๆเนี่ย อย่างเกาหลี เมืองจีน แปลว่ารถไฟฟ้าของเค้าไม่ใช่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจใช่มั้ยคะ
แต่ของไทยเราก็เว่อไปมั้ยคะ สิบปีได้แค่นี้ แล้วไหนบอกอยากเป็นผู้นำอาเซียน

การสร้างรถไฟแบบลอยฟ้าเนี่ยประหยัดกว่า แต่ดิชั้นมองว่ามันรถหูรกตาเหลือเกิน บดบังทัศนียภาพของเมือง หรือว่าดินกรุงเทพบางที่มันไม่เหมาะจะทำใต้ดินหรือคะ เข้าทำนองเดียวกันกับที่ชาวเชียงใหม่ชอบทางลอดหรืออุโมงค์มากกว่าสะพานข้ามแยกแหละคะ ใช้งบเยอะกว่าก็จริง แต่ไม่บดบังทัศนียภาพ จะเห็นว่าเชียงใหม่ทางลอดเต็มไปหมด ขอโทษนะคะเป็นความคิดเห็นส่วนตัว อาจจะไม่ถูกใจหลายท่าน

เรื่องฝนสาด ดิชั้นก็ยืนยันคะว่าตอนนั้นพื้นเปียกชุ่ม ไม่ใช่เฉพาะที่สถานีลาดกระบัง ถ้าจะบอกเหตุผลว่าฝนตกแรง กันสาดกันไม่อยู่ ดิชั้นก็มานั่งคิดว่า แล้วจะทำทำไมคะ ถ้ามันกันฝนไม่ได้แต่กันลมได้อย่างดี <_< เพราะบีทีเอสถ้าฝนไม่แรงก็ไม่เปียกเหมือนกันคะ

#36 nutnano

nutnano

    สมาชิก Economy Class

  • Sponsor Member
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 843 posts
  • LocationSARL Phaya Thai Station

Posted 24 October 2010 - 04:01 PM

อ้อ ที่แน่ๆตอนนี้โครงการคอนโดมิเนียมตามรายทางสถานีต่างๆ ก็ต่างชูจัดขายใกล้ SARL แล้วค่ะ ทั้งดีคอนโดรามคำแหง คอนโดแถวๆราชปรารภทั้งเวิฟและอื่นๆ แถวๆมักกะสันด้วย และดิชั้นเชื่อว่าเค้าจะเอามาเป็นจุดขายตรงที่มันสามารถไปสนามบินได้ง่าย และไปเชื่อมกับบีทีเอสและ MRT ได้


อันนี้มันเข้าทำนองกับ หมู่บ้านใกล้สนามบิน พอเข้าไปอยู่จริงก็ออกมาโวยวายว่าเสียงดัง

โครงการพวกนี้ก็เช่นเดียวกัน พอ SARL มันไม่เวิร์ค ตอบสอนงการเดินทางไม่ได้ก็ออกมาพาลโทษระบบเขาไปทั่ว


งั้นเรื่องรถไฟต่างประเทศที่ทำเร็วๆเนี่ย อย่างเกาหลี เมืองจีน แปลว่ารถไฟฟ้าของเค้าไม่ใช่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจใช่มั้ยคะ
แต่ของไทยเราก็เว่อไปมั้ยคะ สิบปีได้แค่นี้ แล้วไหนบอกอยากเป็นผู้นำอาเซียน


ต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นเอกชนสร้าง โดยรัฐบาลปล่อยเงินกู้ให้ อย่าง MTR ของฮ่องกงนั้น เอกชนเป็นผู้สร้าง 100% เลยสร้างได้อย่างรวดเร็ว อันนี้ต้องเข้าใจระบบราชการของบ้านเราด้วย


การสร้างรถไฟแบบลอยฟ้าเนี่ยประหยัดกว่า แต่ดิชั้นมองว่ามันรถหูรกตาเหลือเกิน บดบังทัศนียภาพของเมือง หรือว่าดินกรุงเทพบางที่มันไม่เหมาะจะทำใต้ดินหรือคะ เข้าทำนองเดียวกันกับที่ชาวเชียงใหม่ชอบทางลอดหรืออุโมงค์มากกว่าสะพานข้ามแยกแหละคะ ใช้งบเยอะกว่าก็จริง แต่ไม่บดบังทัศนียภาพ จะเห็นว่าเชียงใหม่ทางลอดเต็มไปหมด


เรื่องการเงินก็เกี่ยว เรื่องธรณีวิทยาก็เกี่ยวข้องด้วย

เรื่องการเงิน ลองไปดูตัวอย่างของ สายสีส้ม บางกะปิ - ตลิ่งชัน ก็ได้ ถูกดองมาหลายปีแล้ว ทั้งๆ เส้นทางของมันถ้าเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะช่วยบรรเทาเรื่องรถติดเป็นอย่างมาก

สายนี้โครงสร้างส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน หรือเรียกเหมารวมเลยก็ได้ว่าใต้ดินตลอดสาย วงเงินในการก่อสร้างสายนี้เลยสูงกว่าสายสีอื่นๆ เรียกประมาณๆ ได้ว่า สายนี้สายเดียวสร้างสายบนดินได้หลายสาย

ดังนั้นในสภาวะปัจจุบัน ที่ต้องเร่งก่อสร้างเพิ่มหลายๆ สาย จึงสมควรว่า ควรจะลงเงินครั้งเดียวแล้วได้หลายสายก่อนจะดีกว่า

อ้อ เกือบลืม ขุดทางลอดสำหรับรถยนต์ กับ ขุดอุโมงค์สำหรับรถไฟฟ้า การก่อสร้าง ไม่เหมือนกัน!!! วงเงินในการก่อสร้าง ไม่เท่ากัน!!! ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้

ขุดอุโมงค์สำหรับรถไฟฟ้า จะต้องมีเครื่องมือขุดเจาะชนิดพิเศษ สำหรับอุโมงค์ทางวิ่ง และการขุดแบบเปิดหน้าดิน ในส่วนของสถานี

ขุดทางลอดสำหรับรถยนต์ ก็เป็นแค่ขุดหน้าดินลงไปที่ระดับความลึกไม่มาก แล้วถนนข้างบน ทำเป็นลักษณะคล้ายกับสะพานมาวางพาดไว้ข้างบน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------


ไหนๆ ตอบแล้ว ก็ขอยกประเด็นที่คุณ Flight Mania ยังสับสน เข้าใจผิด อยู่ในกระทู้ เกี่ยวกับ Airport Rail Link มาตอบด้วยเลย


แต่ผมอะอยากซัดประเด็นที่ว่า ทำไมรถวิ่งช้าจังครับ City line เนี่ย ผมว่าน่าจะวิ่งเร็วคร่าวๆประมาณ 130-140 km/hr มั๊ง อันนี้พอเข้าใจ หยุดบ่อย แต่ express เนี่ย น่าจะเอาซัก 220km/hr นะครับ (เข้าใจว่าได้)


รถไฟฟ้าสาย City Line และ Express Line เป็นรถรุ่นเดียวกัน Spec เดียวกัน ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนแบบเดียวกัน รุ่นเดียวกัน ทำงานบนกระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้าที่ 25 kVAC เท่ากัน ดังนั้น รถทั้งสองแบบจะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 161 km/h เท่ากัน

แต่ที่คุณบอกว่า City Line ช้า อันนี้เป็นเพราะ อัตราการเร่ง (Acceleration) มันต่ำกว่า BTS และ MRT เลยทำให้ดูเหมือนช้ากว่า และการจอดบ่อย แต่ความเร็วในการวิ่งจริงๆ ถึง 160 km/h แน่นอน ลองเปรียบเทียบดูกับรถบนมอเตอร์เวย์หรือทางด่วนก็ได้ แซงเรียบทุกคัน


แล้วตอนตีโค้ง+เส้นเข้าสนามบิน ออกแบบได้ห่วยมากครับ ผมว่า BTS ตรงอนุสาวรีย์ยังทำดีกว่าเลย


โค้งของ SARL แต่ละจุดนั้น เป็นการออกแบบที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมแล้ว คือ โค้งยกขอบ รัศมีวงเลี้ยวมาก คุณเลยรู้สึกเหมือนว่า เวลาเข้าโค้งแล้วรถมันเอียงๆ เขาออกแบบมาให้เพื่อรถสามารถเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงได้อย่างปลอดภัย ไม่แหกโค้ง โดยไม่ต้องชะลอความเร็ว

แต่ BTS ตรงอนุสาวรีย์ชัยฯ, สยาม, ช่องนนทรี, ศาลาแดง เป็นทางโค้งในแนวราบ ซึ่งโค้งแบบนี้ รัศมีวงเลี้ยวน้อย จะต้องมีตัวประกบล้อกับรางเอาไว้ เพื่อกันรถหลุดโค้ง (เหล็กประกบรางนี้เป็นต้นตอของเสียงเอียดอ้าดเวลา BTS เข้าโค้ง) และโค้งของ BTS ไม่สามารถเข้ามาด้วยความเร็วสูงได้ ต้องชะลอความเร็วลง ถึงจะไปได้อย่างปลอดภัย


#37 Amakung

Amakung

    สมาชิก Business Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 2,698 posts

Posted 24 October 2010 - 07:14 PM

เจอคุณ nutnano ตอบไปหลายโพส ความรู้อิ่มเลยทีเดียว ขอบคุณนะครับ
จะบอกว่าสำหรับคนที่ยังไม่เคยนั่ง ไปใช้เถอะครับ ไม่ว่ายังไงมันก็เป็นวิธีถูกที่สุดและเร็วที่สุดในการไปสุวรรณภูมิ (ถูกกว่าแท็กซี่มากมายมหาศาล)
ไม่ใช่ว่าคนไปขึ้นเครื่องบินจะตรงกับ rush hour ซะเมื่อไหร่
จะว่าคนเยอะก็จริง แต่ก็จริงตามที่คุณ nutnano บอกนะครับ มันเป็น commuter ไหนจะติดเรื่องให้รถวิ่งให้เป็นระบบ
ถ้าจะเพิ่มเที่ยว ถึงมีรถ ท่าทางวิศวกรจะต้องคิดหนัก

#38 WoNToN

WoNToN

    สมาชิกปั่นจักรยาน

  • Members
  • Pip
  • 30 posts

Posted 24 October 2010 - 08:29 PM

เจอคุณ nutnano ตอบไปหลายโพส ความรู้อิ่มเลยทีเดียว ขอบคุณนะครับ
จะบอกว่าสำหรับคนที่ยังไม่เคยนั่ง ไปใช้เถอะครับ ไม่ว่ายังไงมันก็เป็นวิธีถูกที่สุดและเร็วที่สุดในการไปสุวรรณภูมิ (ถูกกว่าแท็กซี่มากมายมหาศาล)
ไม่ใช่ว่าคนไปขึ้นเครื่องบินจะตรงกับ rush hour ซะเมื่อไหร่
จะว่าคนเยอะก็จริง แต่ก็จริงตามที่คุณ nutnano บอกนะครับ มันเป็น commuter ไหนจะติดเรื่องให้รถวิ่งให้เป็นระบบ
ถ้าจะเพิ่มเที่ยว ถึงมีรถ ท่าทางวิศวกรจะต้องคิดหนัก


เห็นด้วยมากมากคับ

#39 WoNToN

WoNToN

    สมาชิกปั่นจักรยาน

  • Members
  • Pip
  • 30 posts

Posted 24 October 2010 - 08:31 PM

:mellow:

#40 Flight Mania

Flight Mania

    สมาชิก Business Class

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 2,453 posts

Posted 25 October 2010 - 03:10 AM

ก่อยอื่นขออภัยที่ข้อมความผมกำกวม เลยเข้าใจผิด

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถูกจัดวางให้อยู่ในกลุ่ม Commuter และเป็น Commuter อย่างชัดเจนด้วย ถึงแม้ว่า จะมีคนเอาเรื่องการเพิ่มความถี่มาอ้างว่าสามารถเพิ่มได้สูงสุด เท่านั้นเท่านี้ขบวนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง มายัดเยียดให้ SARL เป็น Rapid Transit ให้ได้


ยังไง Commuter Train ก็คือ Commuter Train ไม่สามารถที่จะทำอะไรหลายๆ อย่างเหมือน Rapid Transit ได้

ส่วน BTS นั้น เป็น Metro หรือ Rapid Transit ไม่ใช่ Commuter แบบที่คุณเข้าใจ



ส่วนเรื่องที่ต้องสร้างลอยฟ้านั้น จริงๆ แล้วเขาก็อยากจะทำเป็นใต้ดิน แต่ติดปัญหาอยู่ที่เงิน ประเทศไทยไม่ได้รวยอะไรขนาดนั้น การก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ นอกจากจะต้องดูรูปแบบความเหมาะสมแล้ว จะต้องดูเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นด้วย


อ้อ แล้วอยากจะบอกคุณ Flight Mania ให้เป็นความรู้ไว้ว่า รถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในกรุงเทพมาหนครและปริมณฑลอีกหลายๆ สายนั้นเป็นระบบลอยฟ้า อาทิเช่น


ผมรู้ครับอะไรคือ metro อะไรคือ commuter

สั้นๆครับ SARL ตั้งใจให้เป็น commuter แต่ ส่งที่ออกมามันไม่ใช่
ผมยกตัวอย่าง "มหาชัย วงเวียนใหญ่" เป็นตัวอย่าง commuter ครับ
ไม่ได้จะประชดนะครับ แต่ถ้าจะบ้าจี้เรียก SA maglev ก็ไม่มีใครห้าม แต่เนื้อแท้ มันออกมาไม่ใช่ maglev หรอกครับ

เรื่องสายสีแดง ผมทราบแต่ว่าจะมีอีกสายที่วิ่งขนาน แต่ที่ก็พอเดาออกว่า สายนี้เป็นหมันไปอีกนาน แล้วโยนภาระไปให้ SARL

สายอื่นๆผมก็พอรู้ว่ามันอยู่บนดิน มันเลยเซ็งไง

ส่วน BTS นี่ก็ไม่มีอะไร เอกชนมีทุน เอกชนทำ เอกชนรวย จบ


เรื่องการเงินก็เกี่ยว เรื่องธรณีวิทยาก็เกี่ยวข้องด้วย

เรื่องการเงิน ลองไปดูตัวอย่างของ สายสีส้ม บางกะปิ - ตลิ่งชัน ก็ได้ ถูกดองมาหลายปีแล้ว ทั้งๆ เส้นทางของมันถ้าเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะช่วยบรรเทาเรื่องรถติดเป็นอย่างมาก

สายนี้โครงสร้างส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน หรือเรียกเหมารวมเลยก็ได้ว่าใต้ดินตลอดสาย วงเงินในการก่อสร้างสายนี้เลยสูงกว่าสายสีอื่นๆ เรียกประมาณๆ ได้ว่า สายนี้สายเดียวสร้างสายบนดินได้หลายสาย

ดังนั้นในสภาวะปัจจุบัน ที่ต้องเร่งก่อสร้างเพิ่มหลายๆ สาย จึงสมควรว่า ควรจะลงเงินครั้งเดียวแล้วได้หลายสายก่อนจะดีกว่า

ไหนๆ ตอบแล้ว ก็ขอยกประเด็นที่คุณ Flight Mania ยังสับสน เข้าใจผิด อยู่ในกระทู้ เกี่ยวกับ Airport Rail Link มาตอบด้วยเลย




รถไฟฟ้าสาย City Line และ Express Line เป็นรถรุ่นเดียวกัน Spec เดียวกัน ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนแบบเดียวกัน รุ่นเดียวกัน ทำงานบนกระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้าที่ 25 kVAC เท่ากัน ดังนั้น รถทั้งสองแบบจะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 161 km/h เท่ากัน

แต่ที่คุณบอกว่า City Line ช้า อันนี้เป็นเพราะ อัตราการเร่ง (Acceleration) มันต่ำกว่า BTS และ MRT เลยทำให้ดูเหมือนช้ากว่า และการจอดบ่อย แต่ความเร็วในการวิ่งจริงๆ ถึง 160 km/h แน่นอน ลองเปรียบเทียบดูกับรถบนมอเตอร์เวย์หรือทางด่วนก็ได้ แซงเรียบทุกคัน



โค้งของ SARL แต่ละจุดนั้น เป็นการออกแบบที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมแล้ว คือ โค้งยกขอบ รัศมีวงเลี้ยวมาก คุณเลยรู้สึกเหมือนว่า เวลาเข้าโค้งแล้วรถมันเอียงๆ เขาออกแบบมาให้เพื่อรถสามารถเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงได้อย่างปลอดภัย ไม่แหกโค้ง โดยไม่ต้องชะลอความเร็ว

แต่ BTS ตรงอนุสาวรีย์ชัยฯ, สยาม, ช่องนนทรี, ศาลาแดง เป็นทางโค้งในแนวราบ ซึ่งโค้งแบบนี้ รัศมีวงเลี้ยวน้อย จะต้องมีตัวประกบล้อกับรางเอาไว้ เพื่อกันรถหลุดโค้ง (เหล็กประกบรางนี้เป็นต้นตอของเสียงเอียดอ้าดเวลา BTS เข้าโค้ง) และโค้งของ BTS ไม่สามารถเข้ามาด้วยความเร็วสูงได้ ต้องชะลอความเร็วลง ถึงจะไปได้อย่างปลอดภัย


เรื่องเงินไม่มี ก็เข้าใจครับ ได้แค่นี้ เลยเซ็ง แค่หวังว่าจะไม่มีอนุสาวรีย์ โฮปเวล อีกโครงการก็พอ

เรื่องความเร็ว city line "อันนี้พอเข้าใจ หยุดบ่อย" ผมไม่ได้ว่าอะไร แต่ express line ผมรู้ครับมันไปได้แค่ 160 เพราะ รถมันไปได้แค่นั้น ผมแค่อยากจะสื่อว่า ควรจัดซื้อรถที่เร็วกว่านี้ตั้งแต่แรกแล้ว
แล้วที่ว่า city line "อันนี้พอเข้าใจ หยุดบ่อย" วิ่งถึง 160 ผมไม่รู้ว่าถึงบ้างรึเปล่า แต่โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 130-140 ตัวเลขนี้ ผมใช้ GPS จับเอาครับ โดยประสบการณ์เครื่องนี้จะ +- ไม่เกิน 5 km/hr ครับ ผมไม่ได้จ้องเครื่องตลอดเวลา แต่ส่องสายตาไปทีไรก็จะอยู่ในช่วงนี้ แต่จะวิ่งเต็มที่แค่ไหน ผมว่าไม่มีปัญหา เพราะเท่านี้ก็พอแล้วครับ มันหยุดบ่อย สำหรับ city line

โค้งมันห่วยตรงที่ต้องลดความเร็วเยอะ ไม่ใช่เพราะเอียงเยอะหรือเสียงดัง (เข้าใจครับ tilting rolling stock มันแพงและซับซ้อนกว่า) ผมไม่เคยบอกว่ามัน"ออกแบบผิดหลักวิศวะ"ผมแค่บอกว่ามัน"ห่วย" มันคงมีปัจจัยอีกหลายอย่างเรื่องเงินและพื้นที่มั๊ง เลยไม่สามารถเข้าโค้งที่ 160 ได้ (ไม่สิ ไม่ได้ออกแบบมาให้เข้าเร็ว 160 มากกว่า ไม่ใช่ว่าไม่สามารถเข้าได้)


ผมไม่ได้จะกล่าวหาว่าผิด หรือถูก ผมเขียนกำกวนไปหน่อยเลยอ่านแล้ว งง ก็ขออภัย

ผมแค่อยากสื่อมุมมองของผู้บริโภคและประชากรคนหนึ่งเท่านั้นเองครับ อนาคตเป็นอย่างไรไม่มีใครทราบ แต่ผมแค่ไม่อยากเห็นอนาคตเป็นไปในทิศทางที่พอเดาได้ว่ากำลังไปทางไหน




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users

ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Galileo (แสดงผล waiting list)     ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Amadeus (เแสดงเฉพาะที่นั่งว่าง)
   
    ติดต่อเจ้าหน้าที่แผนก ตั๋วเครื่องบิน โทร 02-3737-555 / จันทร์ - ศุกร์ 09.00~18.00 น. // เสาร์ 09.00-16.00 น.