'HATTORI', on 23 Jun 2010 - 11:31 PM, said:
ผมมีความสนใจประเทศนี้มานานแล้วครับคุณอาฒยา อยากเห็นสภาพความเป็นอยู่
ของชาวเอธิโอเปียในกรุงแอดดิสอะบาบา พูดง่ายๆอยากเห็นภาพเมืองหลวงน่ะครับ
จากทีอ่านสารคดีรู้มาว่าที่นี่เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณเก่าแก่ของมนุษย์
และเป็นแหล่งกำเนิดของกาแฟเครื่องดื่มยอดนิยมของโลก อยากเห็นภาคเหนือที่
เป็นแหล่งท่องเที่ยวของเค้า ประทับใจงานแต่งงานมากๆเลยครับ ไว้คุณอาฒยาไปอีกที
อยากให้ช่วยนำภาพสนามบินกรุงแอดดิสอะบาบามาให้ชมด้วยน่ะครับ ไม่รู้ขอมากเกินไปหรือเปล่า
กดบวกให้แล้วนะครับ ปล.ชนบทนี่ค่อนข้างตัดไม้ทำลายป่าเยอะเหมือนกันนะครับ ขอบคุณรีวิวเมืองแปลกครับ
ไม่ถือว่าขอมากเกินไปหรอกค่ะ แล้ว อาฒยา จะพยายาม นำมาให้ชมนะคะ
ไม่ทราบว่าคุณฮัตโทริ ได้เข้าไปชม บทความของคุณ นิติภูมิหรือยังคะ?
ซาอุฯ ปลูกข้าวในเอธิโอเปีย อังคาร ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
นิติ ภูมิยังเขียนคอลัมน์ฉบับอังคารวันนี้ที่ล็อบบี้โรงแรมฮิลตัน กรุงแอดดิสอะบาบา สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย พรุ่งนี้ก็คงจะถึงเมืองไทย พักได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ต้องหิ้วกระเป๋าไปกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ชีวิตคนเราก็เป็นอย่างนี้นะครับ ทำงานกันเกือบ ๒๔ ชั่วโมงต่อวัน อาศัยได้นอนก็ตอนอยู่บนเครื่องบิน ทว่า เวลาพักผ่อนนอนหลับที่ฝันกันไว้จริงๆ ก็โน่นแหละ ในหลุมฝังศพ
ห้วง ที่พำนักพักในกรุงแอดดิสอาบาบา และจะไปเยือนเมืองเชลซี ผมยังได้รับชวนให้ไปเยือนประเทศในเอเชียกลาง เอเชียไกล และตะวันออกกลาง ทว่าเวลาซ้อนกัน ขอถือโอกาสนี้ขอโทษท่านผู้ชวนมาด้วยความเคารพครับ
แรกเริ่มเดิมทีนึกว่า บริษัท Agricultural Equipment & Technical Service S.co จะ เป็นบริษัทเล็กๆ หลังจากผู้บริหารคือ นายทีโวดรอซ มาเดซซี (มหาบัณฑิจจากอูเครน) และดร. เทเฟอรี เบอเลย์ (ดุษฎีบัณฑิจจากสาธารณรัฐเชค) พาพวกเราไปเยี่ยมชมบริษัทแล้วก็ต้องเปลี่ยนความคิด เอาแค่สต๊อกยางรถแทรกเตอร์ ผมว่ามูลค่าก็ซัดเข้าไปเป็นล้านดอลลาร์แล้ว ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ ขณะนี้ บริษัทได้รับการว่าจ้างจากบริษัท Saudi Star Agricultural Company ของ ซาอุดิอาระเบียให้มีส่วนในการปลูกข้าวในพื้นที่ ๒ แสนเฮกตาร์ หรือ ๑.๒๕ ล้านไร่ เครื่องจักรการเกษตรที่ซาอุดีอาระเบียซื้อจากบริษัทแคทเตอร์พิลลาเมื่อ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เพียงครั้งเดียวคิดเป็นจำนวนเงินมากถึง ๘๐ ล้านดอลล่าร์ หรือ ๒,๕๖๐ ล้านบาทไทย
นาย มูฮำหมัด อัล อามูดี มหาเศรษฐีติด ๑ ใน ๑๐๐ ของโลก นำข้าวที่ปลูกจากภาคตะวันตกของเอธิโอเปียไปถวายให้กษัตริย์อัลดุลลอฮฺ บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอุด เสวยเพื่อตรวจสอบรสชาติ หลังจากเสวยแล้ว พระองค์ตรัสว่า Go and grow rice in Ethiopia “จงไปปลูกข้าวในเอธิโอเปีย” บัดนี้ พื้นที่ทางการเกษตรที่ซาอุดีอาระเบียเช่าในเอธิโอเปียจึงมีขนาดเท่าสาธารณรัฐจิบูตีทั้งประเทศ
เป็น ไปได้สูงที่บริษัท บาลานซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตภาพยนต์สารคดีรับใช้ผู้ชมชาวไทยมาครบหนึ่งทศวรรษพอดี จะได้รับสัญญาว่าจ้างจากรัฐวิสาหกิจด้านเครื่องจักรกลทางการเกษตรของ เอธิโอเปียให้ตระเวนถ่ายทำกิจการด้านการเกษตรของเอธิโอเปีย เพื่อรัฐวิสาหกิจแห่งนี้จะนำไปฉายต่อในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
พ.ศ. ๒๕๔๘ นิติภูมิไปซูดานซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นที่ติดกับเอธิโอเปีย ตระเวนเทียวเที่ยวไปในตลาดสด ผมเห็นผักที่ชาวเกาหลีใต้เข้ามาปลูกขาย ทั้งใบทั้งต้นสมบูรณ์มาก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมจึงเริ่มสนใจศึกษาเรื่องการปลูกพืชผักผลไม้ในประเทศทางแถบนี้ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังเกิดใหม่ที่มีชื่อว่า ‘ซูดานใต้’ (พรมแดนติดกับรัฐกัมเบลาของเอธิโอเปีย)
ทราบ ตั้งแต่เมื่อ ๕ ปีที่แล้วแล้วละครับว่า ชาติรอบอ่าวเปอร์เซีย ๖ ประเทศชุมนุมสุมศีรษะร่วมกันตั้งบริษัทผลิตพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ต้นทุนในการผลิตจะแพงอย่างไรไม่ว่า ทว่า ขอให้มั่นใจได้อย่างเดียวในเรื่องปลอดสารเคมี กินแล้วไม่เป็นมะเร็ง และโรคภัยอย่างอื่น แผ่นดินการเกษตรที่กลุ่ม ๖ ประเทศรอบอ่าวเข้าไปทำการเกษตรขนาดใหญ่ก็คือ ซูดาน อียิปต์ และปากีสถาน ส่วนพม่า และกัมพูชานี่ เพิ่งเริ่มเข้ามาทีหลังตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ นี่เอง
เคยนำข้อมูลนี้รับใช้สังคมไทยไปหลายรอบ ทว่าหลายท่านสงสัยว่าแอฟริกาจะมีพื้นที่เกษตรได้ยังไง? พ.ศ. ๒๕๔๕ นิติภูมิเทียวเที่ยวไปในหลายประเทศที่อยู่ใกล้ซูดานและเอธิโอเปีย เข้าไปไกลจนถึงราชอาณาจักรโทโร แถวบริเวณนี้มีฝนตกหนักมาก ตกติดต่อกันนานจนเปลือกต้นไม้ขนาดใหญ่เขียวครึ้มไปด้วยตะไคร่ ตระเวนสำรวจไปตามต้นน้ำลำธาร และทะเลสาบน้ำจืดมากมายหลายแห่งแล้ว ต้องขอยืนยันว่า แถวนี้อุดมสมบูรณ์มากกว่าพื้นที่ราบลุ่มชุ่มน้ำในกัมพูชาซะด้วยซ้ำไป
หาก ท่านสนใจการปลูกพืชผักผลไม้ในเอธิโอเปีย ผมมีภาพนิ่งการไปเยือนสถานที่ต่างๆ เอาแค่ไปเยือนสถานที่ปลูกดอกกุหลาบขายเมื่อ ๒๒ พ.ค.ที่ผ่านมาก็แล้วกัน ท่านเข้าไปดูภาพเหล่านี้ได้ในเว็บไซต์ www.nitipoom.com ตรงช่องเมนูกิจกรรม เพียงสวนเดียว เจ้าของคือ Mr Tsegaye Abebe ลง ทุนไปกว่า ๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ประมาณเกือบ ๒๐๐ ล้านบาท ตอนนี้มีแปลงดอกไม้ปลูกในเอธิโอเปีย ๘๐ แห่ง มีเครื่องบินเช่าเหมาลำจากเอธิโอเปียขนดอกไม้และผักไปขายในยุโรปวันละ ๒ เที่ยว ค่าขนส่งตกปีละราว ๑๐๐ ล้านดอลลาร์ ก็คือ ๓,๒๐๐ ล้านบาท
สนทนากับนายกสมาคมผู้ปลูกดอกไม้และผัก ท่านบอกว่า คนที่รวยจากการปลูกดอกไม้และผักที่นี่ก็คือ พ่อค้าดัชต์ ผลผลิตเกือบ ๑๐๐ % ถูกนำใส่เครื่องบินไปประมูลในเนเธอร์แลนด์ จากนั้นจึงกระจายไปขายต่อในประเทศอื่น
แม้ แต่ดินตามแปลงกุหลาบจะต้องส่งตัวอย่างไปตรวจที่เนเธอร์แลนด์ทุก ๓ เดือนเพื่อดูว่าขาดธาตุอาหารอะไรบ้าง สถิติลม ฝน อุณหภูมิก็ต้องส่งลงคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทางเนเธอแลนด์เปิดตรวจสอบทุกวัน เรื่องยาฆ่าแมลงและสารเคมีนี่ ห้ามใช้เด็ดขาด เกษตรกรต้องซื้อซองแมลงจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในซองจะมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า Phytoseiulus persimlis เอาซองมาแขวนไว้ เพื่อให้ไอ้ตัวนี้คลานออกมาฆ่าแมลงศัตรูพืชต่างๆ โดยเฉพาะเจ้า spider mite ซึ่งเป็นแมลงตัวเล็กมาก ชาวสวนที่นี่ต้องใช้กล้องแบบกล้องส่องพระบ้านเราเช็คกันตลอด
ผู้อ่านท่านครับ สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น ผู้อ่านท่านเข้าไปดูภาพเองเถิดใน www.nitipoom.com กดเข้าไปในแต่ละภาพ จะมีภาพอื่นๆ อีกหลายสิบภาพตามออกมา ดูภาพพวกนี้แล้ว ท่านจะเห็นอนาคตของเกษตรกรเมืองไทย
และเพื่อนๆได้เข้าไปชมหรือยัง อาฒยาเข้าไปชม ภาพกิจกรรมแล้ว เอธิโอเปีย ไม่ได้แห้งแล้งทั้งประเทศ และก็ไม่ได้อดยากกันมากมาย อย่างที่เราเข้าใจ เอธิโอเปียช่างเป็นดินแดนที่น่าค้นหา น่าศึกษาจริงๆ