|
|
Posted 12 March 2016 - 12:31 PM
Posted 12 March 2016 - 12:43 PM
Posted 12 March 2016 - 12:44 PM
ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นับว่าเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆ โดยสิ้นเชิง เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนา นิกายมหายานอย่างยิ่ง ต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือสาสนาพราหมณ์ที่สืบทอดมากว่า 415 ปี ในยุคสมัยพระนครปราสาทบายนถูกสร้างโดยการนำหินมาวางซ้อนๆ กันขึ้นเป็นรูปร่าง แม้จะเป็นปราสาทไม่ใหญ่โตเท่ากับนครวัด แต่มีความแปลกและดูลี้ลับ ทั้งปราสาทมีแต่ใบหน้าคนหากขึ้นไปยืนอยู่ภายในปราสาทนี้ ไม่ว่ามุมไหนก็หาได้รอดหลุดพ้นจากสายตาเหล่านี้ได้เลยนักเดินทางรุ่นเก่าที่เดินทางมายังปราสาทบายนรุ่นแรกๆ เช่นนายปิแอร์ โลตี ได้บันทึกไว้ว่า “ ข้าพเจ้าแหงนหน้าขึ้นไปยังปราสาทที่มีต้นไม้ปกคลุม ซึ่งทำให้ ตัวเองรู้สึกเหมือนคนแคระ และทันทีบันได เลือดในตัวข้าพเจ้าก็เกิดเย็นแข็งขึ้นมา เมื่อมองเห็นรอยยิ้มขนาดมหึมาที่กำลังมองลงมายังข้าพเจ้า แล้วก็รอยยิ้มอีกด้านหนึ่งเหนือกำแพงอีกด้านหนึ่ง แล้วก็รอยยิ้มที่สาม แล้วก็รอยยิ้มที่ห้า แล้วก็ที่สิบ ปรากฏจากทั่วสารทิศ ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนมีตาคอยจ้องมองอยู่ทุกทิศทาง “
Posted 12 March 2016 - 12:46 PM
ปราสาทบายนทั้ง 54 ปรางค์ถูกสลักเป็นภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผินพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่อาศัยด้วยความร่มเย็นเป็นสุข รอยยิ้มที่เย็นระเรื่อนี้เรียกว่ายิ้มแบบบายนเปี่ยมด้วยความเมตตา กรุณา ใยหน้าเหล่านั้นหากนับรวมกัน 54 ปรางค์ปราสาท ปรางค์ปราสาทละ 4 หน้า จะมีใบหน้าอวโลกิเตศวรรวม 216 หน้า แต่ปัจจุบันได้สึกกร่อนพังทลายลงไปหลายใบหน้าทำให้มีไม่ครบ รอบๆ ปรางค์ประธานประกอบด้วยระเบียงคต 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นนอกมีขนาดกว้าง 140 เมตร ยาว 160 เมตร ชั้นในมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 80 เมตร หน้าโคปุระด้านมีภาพผระติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ทั้งสองข้างของบันได ปรางค์ปประธานมีลักษณะเป็นทรงกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 25 เมตร และสูง 43 เมตร เหนือจากระดับพื้น ตัวปราสาทโดยรอบแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นของระเบียงคตด้านใน และบนสุดเป็นชั้นของปรางค์ประธานและปรางค์บริวารที่ทุกปรางค์จะมีภาพพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวรผินพระพักตร์มองออกไปทั้งสี่ทิศ
Posted 12 March 2016 - 12:52 PM
เราขึ้นมาชมบนระเบียงคตชั้นสองรอบๆปรางค์ประธาน
ปราสาทบายนสร้างขึ้นในคติวัชรยานตันตระ โดยมีการวางยันตรมณฑล (Yantra Mandala) เช่นเดียวกับการสร้างปราสาทของลัทธิตันตระในประเทศอินเดีย ซึ่งยังคงสืบเนื่องในการใช้ยัตรมณฑลเป็น "ผังพลังแห่งจักรวาลตามพลังของเทพเจ้าแต่ละองค์" เพื่อวาง"ฮวงจุ้ย"ในการสร้างพลังศักติของเทวาลัยแต่ละแห่งมาถึงในปัจจุบัน
ปราสาทบายน ที่ผมเคยเล่าแล้วว่า เป็นยัตรมณฑลของพระชัยวรมันที่ 7 ในคติวัชรยานอย่างไม่ต้องสงสัย รูปแบบของการก่อสร้าง จึงแปลกไปกว่าปราสาทองค์อื่น ๆ ตรงที่ เป็นปราสาทที่สร้างส่วนประธานกึ่งกลางเป็นรูปวงกลม ผังของปราสาทบายน สร้างขึ้นตามยันตรมณฑลประจำพระองค์ของพระชัยวรมันที่ 7 เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าสูงสุด และเพิ่มพลังแก่พระองค์ในการบรรลุเป้าหมายทางโลก อันเป็นคติการบรรลุโพธิญาณแบบนิกายวัชรยานตันตระ
Posted 12 March 2016 - 01:07 PM
ปรางค์ประธานของปราสาทบายน เราเดินได้โดยรอบระเบียงคตชั้นสอง
ปราสาทบายนแบ่งออกเป็นสามชั้นซึ่งเช่นเดียวกันกับปราสาทเขา “ภูเขาจำลอง” อื่น ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บศพของผู้ปกครอง เมื่อฝรั่งเศสเริ่มทำการบูรณะปราสาทแห่งนี้ก่อนที่เขาพบศิลาจารึก พวกเขาคิดว่าปราสาทบายอนเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งอุทิศให้กับพระพรหม”ผู้สร้างโลก” ซึ่งสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 9 เพราะว่าเขาเห็นพระพักตร์ที่หันไปทั้งสี่ทิศของปรางค์ปราสาท เลยเชื่อว่าเป็นพระพักตร์ของพระพรหม แต่ในช่วง ปี ค.ศ 1935 เมื่อการทำงานเริ่มต้นตรงปรางค์ประธานของปราสาทถึงทำให้เขาเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู และสามารถรู้ว่าบายอนเป็นปราสาทในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12 โดยมีลักษณะเช่นเดียวกันกับปราสาทอีกจำนวนมากที่มีสร้างอยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ปราสาทตาพรหม บันทายคดี พระขรรค์ ฯลฯ ฝรั่งเศสยังตื่นเต้นเพราะเขาได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปรางค์องค์หนึ่งที่พวกเขาขุดลึกลงไปประมาณ 14 เมตร "ในบอน้ำศักดิ์สิทธิ" พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการซ่อมแซมเมื่อ ปี ค.ศ 1940 ตามคำสั่งของพระมหากษัตริย์ พระเจ้ามณีวงค์ พระพุทธรูปองค์นี้ปัจจุบันถูกประดิษฐานไว้อยู่ที่ พระวิหารเจ็ดแถว (Preah Vihear Prampi Lveng) ซึ่งอยู่ด้านหลังของปราสาท ซัวร์ปร๊อต (Sour Prat) ใกล้ถนนไปสู่ประตูชัย นอกจากพบพระพุทธรูปที่หักพังโดยการทำลายนี้แล้วเขายังพบภาพสลักพระโพธิสัตว์ เขายังพบเห็นหลักฐานของภาพสลักพระพุทธรูปที่ถูกทำลายอยู่ทุกที่ของปราสาทแห่งนี้ เลยทำให้เขาสามารถสันนิษฐานได้อย่างชัดเจนว่านี้เป็นผลงานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
Posted 12 March 2016 - 01:11 PM
ยอดปราสาทบายนประกอบไปด้วยระเบียงคตชั้นบนและรูป “ ใบหน้า ” จำนวนมากมายที่แกะสลักอยู่บนยอดปราสาท แต่ละยอดมี 2, 3 หรือบางครั้งก็ 4 ใบหน้า โดยใบหน้าทั้งหมดนี้มีลักษณะเหมือนๆ กัน มีรอยยิ้มที่สงบเยือกเย็นและเหลือบมองลงมาเบื้องล่าง โดยมีชื่อว่า “ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร” -
Posted 12 March 2016 - 01:14 PM
Posted 12 March 2016 - 01:22 PM
Posted 12 March 2016 - 01:28 PM
ลานช้าง (Terrace of The Elephants) สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการบูรณะเพิ่มเติมสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 เป็นศิลปะแบบบายน ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองพระนครหลวง หันหน้าเข้าสู่ลานกว้างเรียกว่าสนามหลวง สร้างเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับพระมหากษัตริย์นั่งทอดพระเนตรการสวนสนาม การซ้อมรบ และการเฉลิมฉลองต่างๆ ตลอดจนการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ
Posted 12 March 2016 - 01:37 PM
ปราสาทตาพรหม จัดว่าเป็นวัดในพุทธศาสนา และเป็นวิหารในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7 ทางเข้าประกอบด้วยโคปุระชั้นนอกและชั้นใน บริเวณผนังที่อยู่เชื่อมระหว่างโคปุระชั้นนอกและชั้นในมีการสลักภาพตามคติธรรมของพุทธศาสนานิกายมหายานปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ.1729 เพื่ออุทิศให้แก่พระราชมารดาของพระเจ้าชัยวรมันที่7คือ พระนางชัยราชจุฑามณีผู้เปรียบประดุจพระนางปรัชญาปรมิตาซึ่งหมายถึงผู้ที่มีความเป็นเลิศ เป็นเทวีแห่งปัญญาหรือพระมารดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวงซึ่งหมายถึงเมื่อพระองค์เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระราชมารดาของพระองค์จึงเปรียบดังพระนางปรัชญาปรมิตาเช่นกัน
Posted 12 March 2016 - 01:40 PM
ปราสาทตาพรหมนี้สร้างหลังปราสาทพระขรรค์เพียง 5 ปี ที่น่าประหลาดใจคือพิธีในปราสาทยุคนั้นซึ่งจารีกได้กล่าวถึงบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทแห่งนี้ คือจำนวนคนและบรรดาทรัพย์สมบัติจากหมู่บ้านจำนวนถึง 3,140 หมู่บ้าน ใช้คนงานถึง 79,365 คน และจำนวนนี้มีพระชั้นผู้ใหญ่ 18 รูป เจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,740 คน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,202 คน และนางฟ้อนรำอีก 615 คน สำหรับทรัพย์สมบัติของวัดก็มีจานทองคำ 1 ชุด หนักมากกว่า 500 กิโลกรัม และชุดเงินเพชร 35 เม็ด ไข่มุก 40,620 เม็ด หินมีค่าและพลอยต่างๆ 4,560 เม็ด อ่างทองคำขนาดใหญ่ ผ้าบางสำหรับคลุมหน้าจากประเทศจีน 876 ผืน เตียงคลุมด้วยผ้าไหม 512 เตียง ร่ม 523 คัน ยังมี เนย นม น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ไม้จันทร์ การบูร เสื้อผ้า 2,387 ชุด เพื่อแต่งรูปปั้นต่างๆ กล่าวกันว่าความฟุ้งเฟ้อนี้เองเป็นเหตุให้เกิดการล่มสลายของอาณาจักรขอมในเวลาต่อ
Posted 12 March 2016 - 01:42 PM
ปราสาทแห่งนี้เป้นปราสาที่ถูกปล่อยให้อยู่กับธรรมชาติ หลังจากการคันพบปราสาทต่างๆ โดยชาวผรั่งเศส แต่เดิมนครวัดเองก็อยู่ในลักษณะเช่นนี้ก่อนที่จะมีการบูรณะในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ในขณที่ปราสาทตาพรหมถูกเก็บรักษาไว้เพื่อให้เห้นสภาพที่แท้จริงว่าปราสาทอยู่กับธรรมชาติมาได้เกือบ 500 ปี อันเป็นอีกมุมมองหนึ่งเพื่อให้เห็นลักษณะของต้นไม้ที่เกาะกุมปราสาทเดิมก่อรสร้างปราสาทนั้นสภาพบริเวณนี้เป็นป่ามาก่อน เมื่อจะสร้างปราสาทจึงต้องเคลียร์พื้นที่ให้เป็นที่โล่ง โดยการตัดไม้ออก แต่ในที่สุดแล้วธรรมชาติก็สามารถที่จะเอาชนะถาวรวัตถุที่ถูกสร้างจากมนุษย์ ต้นไม้ที่เกาะกุม ชอนไชไปยังส่วนต่างๆ ของปราสาทช่วยทำให้บรรยากาศปราสาทตาพรหมดูลึกลับ สวยไม่เหมือนกับปราสาทใดๆ
0 members, 0 guests, 0 anonymous users
ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Galileo (แสดงผล waiting list) | ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Amadeus (เแสดงเฉพาะที่นั่งว่าง) | |
ติดต่อเจ้าหน้าที่แผนก ตั๋วเครื่องบิน โทร 02-3737-555 / จันทร์ - ศุกร์ 09.00~18.00 น. // เสาร์ 09.00-16.00 น. |