Jump to content



 
จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม จองรถเช่า
แผนกบริการลูกค้า โทร 02-3737-555 จันทร์ - เสาร์ 09.00-18.00น.

 

ค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและการบินในเอชไฟล์ท เชิญด้านล่างนี้

หน้าแรก | เว็บบอร์ดรีวิว | จองตั๋วเครื่องบิน | จองโรงแรม | เที่ยวต่างประเทศ | เที่ยวในประเทศ | ลงโฆษณา

จากพิมายถึงชายแดนเขมร : ตามรอยเส้นทางสายราชมรรคา(The Royal Route)

เส้นทางสายราชมรรคา พนมรุ้ง พิมาย เมืองต่ำ

  • Please log in to reply
53 replies to this topic

#21 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

 


Posted 05 March 2014 - 10:03 AM

Advertisements

เทือกพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟ (ดับแล้ว)ซึ่งผ่านการระเบิดมาแล้วและธรรมชาติก็ทำให้ปล่องภูเขาไฟเป็นแหล่งน้ำซึ่งมี
มากพอตลอดปีสำหรับการใช้ ที่นี่ได้เป็นสถานี่ศักดิ์ที่คนในสมัยอดีตได้ขึ้นมาสร้างศาสนสถานทางศาสนาพราหมณ์
เพื่อ ถวายเป็นที่ประทับของพระศิวะมหาเทพ  ที่มีทำเลเพื่อจะสมมติว่าคือเขาพระสุเมรุ จึงได้เลือกเขาพนมรุ้งสร้างศาสนสถานแห่งนี้ขึ้นมา

1393205152-DSC5203res-o.jpg
ตัวปราสาทถูกสร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู จึงทำให้ตัวปราสาทมีสีชมพูเป็นส่วนใหญ่

1393205559-DSC5205res-o.jpg
สภาพส่วนใหญ่ยังคงสมบูรณ์และผ่านการบูรณะและดูแลอย่างดี





Advertisements

#22 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:03 AM

1393210271-mappnom-o.jpg

ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
1393210394-IMG9430res-o.jpg

1393210463-IMG9453res-o.jpg



#23 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:03 AM

การสร้าง - รักษา - ทำลาย

1393210792-IMG9539res-o.jpg
พระเอกของที่นี่ ที่นักเดินทาง นักท่องเที่ยวต้องมาเก็บภาพเป็นที่ระลึกเสมอ

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
1393210947-IMG9445res-o.jpg
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธ์ เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตามคัมภีย์วราหะปุรณะ ได้ให้ความสำคัญกับพระนารายณ์ ว่าเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ ในขณะที่พระองค์บรรทมหลับอยู่ที่เกษียรสมุทร หรือทะเลน้ำนม ได้มีดอกบัวผุดขึ้นมาจากพระนาภี บนดอกบัวนั้นได้บังเกิดพระพรหมขึ้น และพระพรหมทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์และสิ่งต่างๆต่อไป

ขณะที่การบรรทมของพระนารายณ์ คือการบรรทมในช่วงการสร้างโลก การกำหนดอายุของจักรวาลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด ซึ่งเมื่อตื่นขึ้นในตอนเช้าก็จะสร้างสรรพสิ่งต่างๆตลอดทั้งวันถึงเย็น เหตุการณ์เช่นนี้จะวนเวียนไปจนครบ 100 ปีของพระพรหม จากนั้นโลกทั้งสามตลอดจนเทพเจ้าต่างๆ รวมถึงพระพรหมจะถูกทำลายลง และพระพรหมองค์ใหม่ซึ่งจะบังเกิดขึ้นและสร้างโลกต่อไป

ด้านบนบริเวณหน้าบัน จะพบภาพพระศิวนาฏราช  บริเวณหน้าบันด้านทิศตะวันออกของมณฑปปราสาทประธานเป็น ภาพจำหลักพระศิวะนาฏราชหรือพระศิวะทรงฟ้อนรำ  ที่ว่ากันว่าสวยที่สุดใน ประเทศไทย
1393211142-IMG9447res-o.jpg

1393214511-IMG9504res-o.jpg

ภาพ 2 ชิ้นนี้ถูกยกย่องให้มีความสำคัญสูงสุดของปราสาทพนมรุ้ง การที่ภาพทั้ง 2 อยุ่ต่อเนื่องกันนี้ ได้แสดงให้เห็นภาพเทพเจ้าสูงสุด 3 องค์ในศาสนาฮินดู คือ พระศิวะ , พระนารายณ์และพระพรหมณ์ พร้อมกันในครั้งเดียว ซึ่งสื่อให้เห็นวัฎจักร เกิด - ดับ - การควบคุมการเป็นไปของโลก ( พระพรหมณ์ - สร้าง ,  พระนารายณ์ - รักษา , พระศิวะ - ทำลาย )



#24 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:04 AM

ภาพนเรนทราทิตย์
ภาพสลักภาพที่นักท่องเที่ยวจะเห็นเป็นภาพแรกก่อนเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นภาพพระศิวะปางโยคทักษิณามูรติ ซึ่งเป็นปางรักษาโรคและความเจ็บป่วย
1393211741-IMG9436res-o.jpg

ภาพสลักด้านล่างเชื่อกันว่าเป็นภาพคนกำลังนอนเหยียด มีคนกำลังประคองร่างไว้ ซึ่งสัมพันธ์กับภาพและเนื้อหาในจารึกที่ระบุว่านเรนทราทิตย์ได้ช่วยผู้ถูกงู กัดด้วยเวทย์มนตร์

1393211923-IMG9517res-o.jpg
เช่นเดียวกับภาพสลักชุดนี้ ที่เป็นภาพนเรนทราทิตย์ช่วยหญิงสูงศักดิ์ถูกงูกัด  
1393212014-IMG9518res-o.jpg



#25 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:04 AM

บริเวณเสาประตูด้านทิศใต้ มีภาพสลักของโยคีภาพหนึ่งที่แตกต่างไปจากจุดอื่น
1393213186-DSC5173res-o.jpg

1393213448-IMG9478res-o.jpg

เราจะพบภาพสลักโยคีนั่งไขว่ห้างถือคัมภีร์ โดยช่างสลักภาพอวัยวะเพศชี้ขึ้นด้านบนบ้างก็ว่าคืออารมณ์ขันของโยคี บ้างก็สะท้อนให้เห็นภาพภายในผ้านุ่งของโยคีว่ามีการจัดวางอย่างไร
1393213334-IMG9496res-o.jpg

ซึ่งภาพต่างๆตามเสาประตูก้จะแตกต่างกันไป ในแต่ละจุด
1393213424-IMG9464res-o.jpg



#26 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:04 AM

แม้ปราสาทพนมรุ้งจะยกให้พระศิวะเป็นใหญ่ แต่ก็ยังปรากฎภาพสลักน่าสนใจหลายภาพ ที่เกี่ยวกับเทพเจ้าองค์อื่นๆด้วย
การตีความจากภาพสลักต่างๆ ล้วนได้แนวคิดและการนำเสนอของ ศ.ดร.สุริยวุฒิ  สุขสวัสดิ์ ม.ศิลปากร

1393213876-IMG9510res-o.jpg
เช่นภาพสลักพระรามและพระลักษณ์ ยกทัพบุกกรุงลงกา เพื่อแย่งนางสีดา กลับคืน

1393213958-IMG9506res-o.jpg
พระอินทร์นั่งบนราชสีห์ เพื่อต่อสู้กับช้าง

1393214098-IMG9487res-o.jpg
นางสีดา นั่งบนบุษบกซึ่งเหาะได้ มาดูพระรามซึ่งโดนบ่วงของทศกัณฐ์รัดไว้

1393214205-IMG9471res-o.jpg
ภาพสลักด้านล่างเชื่อมต่อกับภาพสลักด้านบน ที่พระลักษณ์และพระราม ถูกศรนาคบาศมัดรวมกัน ( นักวิชาการตีความว่าน่าจะเป็นการขยายภาพด้านบน)



#27 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:05 AM

การที่นับถือพระศิวะเป็นเทพองคืใหญ่ของที่นี่ จึงมักจะมีแท่นศิวลึงค์ สำหรับบูชาแทนองค์ศิวะตั้งไว้ในห้องครรภคฤหะของปราสาท

1393214681-IMG9475res-o.jpg

โดยเป็นสัญลักษณ์แทนความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งพราหมณ์จะต้องทำหน้าที่บวงสรวงอยุ่เสมอ โดยการราดของเหลวชดลมบนยอดศิวลึงค์ ซึ่งน้ำก็จะไหลผ่านโยนีออกไปทางท่อโสมสูตรภายนอก ซึ่งประชาชนก้จะมารองรับไปอาบหรือดื่ม ด้วยเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์

1393214882-IMG9481res-o.jpg



#28 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:05 AM

ความมหัศจรรย์ประการสำคัญของปราสาทพนมรุ้งคือ ปรากฎการณ์พระอาทิตย์ขึ้น - ตก  ตรงช่องประตู 15 ช่องประตูปีละ 4 ครั้ง  คือพระอาทิตยืขึ้น 2 ครั้ง ช่วงต้นเมษายนและต้นกันยายน  และสำหรับพระอาทิตย์ตก 2 ครั้งคือช่วงต้นมีนาคมและต้นตุลาคม

1393215264-DSC5134res-o.jpg
ภาพจำลองเหตุการณ์พระอาทิตย์ ตรงช่อง 15 ประตู ซึ่งจัดแสดงในศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

1393215337-IMG9441res-o.jpg
การที่ตัวปราสาทวางผังให้เอียงไปทางทิศตะวันออก ( เฉียงไปอีกราว 5.5 องศา ) พร้อมไปกับการจัดวางตำแหน่งประตูให้ตรงกัน ซึ่งหลายคนเชื่อว่าเป็นความจงใจของผู้สร้าง เพื่อให้แสงอาทิตย์สาดส่องเข้ามาตรงศิวลึงค์พอดี เพื่อเพิ่มพลังชีวิต



#29 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:05 AM

1393219476-IMG9536res-o.jpg
ด้านท้ายปราสาทมีทางขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินขึ้นมายังตัวปราสาทได้  ทั้งนี้จุดชมวิว ที่สามารถมองเห้นวิวด้านล่างก็ทางด้านท้ายปราสาทครับ

จากนี้เราจะไปต่อกันที่ปราสาทเมืองต่ำกันต่อ ซึ่งไม่ไกลจากปราสาทพนมรุ้งมากนัก
1393219609-DSC5243res-o.jpg

1393219672-DSC5233res-o.jpg

1393219689-DSC5219res-o.jpg

เพื่อเติมเต็มเส้นทางสายนี้ต่อไปครับ
1393219730-IMG9551res-o.jpg



#30 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:06 AM

ระหว่างการเดินทาง ก็ได้ทำให้เราลองจินตนาการกลับไปในสมัยอดีต ผสมไปข้อมูลที่ได้รับรู้ผ่านนิยายเรื่อง La Voie royale ก็ทำให้เราเห้นภาพรางๆของการเดินทางของผู้คนในสมัยอดีต ที่ระหว่างทางจะต้องมีการพัก หุงหาอาหารและพักผ่อน ตลอดเส้นทางก้จะต้องมีการปลูกสิ่งก่อสรา้งให้คนรอมแรน ทั้งคณะเล็ก คณะใหญ่ได้พักอาศัยและทำพิธีกรรมต่างๆ

1393219945-AngkorEmpi-o.jpg

1393219959-166-o.jpg

ระหว่างที่จะเดินทางไปยังปราสาทเมืองต่ำเราแวะ อโรคยาศาลาหรือโรงพยาบาล  ในพื้นที่ใกล้เคียงกันเล็กน้อยครับ  มีข้อมูลว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7  ได้ทรงให้สร้างปราสาทไว้เรียงรายตามเส้นทางราชมรรคามากกว่า 100  แห่ง ในส่วนของอโรคยาศาลา นั้น  จะปลูกสร้างด้วยไม้แบ่งเป็นห้องๆ มีแพทย์ประจำ  2  คน  ผู้ช่วยพยาบาล 6 คน ชาย  2  หญิง 4   ผู้รักษายา  2  คน   คนครัว  2  คน  คนเตรียมเครื่องสังเวยพระพุทธรูป 2  คน  พยาบาลชาย   14  คน  หญิง  6  คน   ทำหน้าที่ต้มและบดยาหญิง 2 คน มีหน้าที่ตำข้าว ขนาดของโรงพยาบาลรักษาคนไข้ได้เต็มที่ 66 คน   นอกจากห้องสำหรับคณะผู้รักษาพยาบาล  ยังมีห้องทำด้วยหินไว้ประดิษฐาน พระพุทธไภษัชคุรุไวทูรย์ประภา โพธิสัตว์ผู้รักษาโรคด้วย

1393220238-DSC5247res-o.jpg

อโรคยาศาลาพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผู้ทรงนับถือพุทธศาสนามหายาน จารึกปราสาทตาพรหมกล่าวไว้ว่าพระองค์ทรงโปรดให้มีการก่อสร้าง “อโรคยศาลา” ซึ่งเป็นสุขศาลาหรือโรงพยาบาลไว้ ๑๐๒ แห่งทั่วราชอาณาจักร และปัจจุบันได้พบจารึกมากกว่าสิบหลักทั้งในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา ปรากฏข้อความทำนองเดียวกันกับจารึกปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ที่บ่งชี้ถึงลักษณะวิหารในโรงพยาบาลของพระองค์ไว้ว่า

“พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยรูปพระชิโนรสทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป
พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลนี้ และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยวิหารของพระคุรุ”


โรงพยาบาลแต่ละแห่งจะมีบุคลากรประจำประมาณ ๕๐ กว่าคน (จารึกปราสาทตาเมือนโต๊ด) ถึง ๙๘ คน (จารึกทรายฟอง ประเทศลาว) มีที่ดินกัลปนาและข้าทาสอีกจำนวนหนึ่งซึ่งได้รับบริจาคให้ทำงานบนที่ดินและ ในโรงพยาบาล อโรคยศาลาจึงมีลักษณะเป็นชุมชนย่อยๆ ของตนเอง ประกอบด้วยวิหารพระไภษัชยคุรุ มีลักษณะเป็นปราสาทศิลาแลงฉาบปูน ปั้นลาย และประดับด้วยหินทรายแกะสลักสวยงาม ซึ่งชิ้นส่วนศิลายังคงเหลือปรากฏหลักฐานเป็นซากอาคารให้เห็นในปัจจุบัน
1393220543-DSC5253res-o.jpg

รูปแบบสถาปัตยกรรมของอโรคยศาล

1393220893-aroka95-o.jpg
กรมศิลปากร พบว่าอาคารอโรคยาศาลา คือศาสนสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญประจำอโรคยศาล รูปแบบของอโรคยศาลอาจสร้างขึ้นจากไม้ โดยอยู่ในบริเวณใกล้กับศาสนสถานที่สร้างขึ้นจากศิลาแลงที่พบหลักฐานใน ปัจจุบัน  
1393220755-1178590467-o.jpg

แผนผังประกอบด้วยปราสาทประธาน สร้างหันไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
1393220805-DSC5249res-o.jpg
และมีโคปุระเป็นทางเข้าด้านเดียวทางทิศตะวันออก มักพบอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสันนิษฐานว่าเป็นบรรณาลัย อยู่ติดริมกำแพงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หันเข้าหาปราสาทประธาน และมีสระน้ำอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยมักอยู่ทางทิศตะวันออกบริเวณภายในหรือภายนอกกำแพงแก้ว รูปแบบดังกล่าวเป็นผังของศาสนสถานประจำอโรคยศาลที่พบทั่วไปในประเทศไทยซึ่ง เป็นอโรคยศาลขนาดเล็กประจำท้องถิ่น และสร้างขึ้นคล้ายคลึงกันในแต่ละชุมชน โดยมีรายละเอียดบางประการที่ต่างกันเล็กน้อยตามลักษณะพื้นที่ และวิธีการก่อสร้าง
1393220837-DSC5248res-o.jpg



#31 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:06 AM

ออกเดินทางต่อกันไป ปราสาทเมืองต่ำกันครับ
1393220974-DSC5254res-o.jpg

ปราสาทเมืองต่ำอยู่ไม่ไกลจากปราสาทหินพนมรุ้งมากนัก ตั้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร บริเวณใกล้ๆกันมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หรือบารายซึ่งเรียกวันว่า ทะเลเมืองต่ำ

1393221120-DSC5353res-o.jpg

เมืองต่ำ  เป็นชื่อเรียกชุมชนโบราณบนพื้นราบที่อยู่ใกล้กับเขาพนม รุ้ง โดยปราสาทเมืองต่ำได้เป็นเทวสถานประจำชุมชน นอกจากนี้ในบริเวณชุมชนพบว่ามีสิ่งปลูกส้รางมากมาย ทั้งอโรคยาศาลา ที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลาและบารายขนาดใหญ่ จึงทำให้เมืองนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าในอดีตน่าจะเป็นเมืองสำคัญ
1393221403-DSC5332res-o.jpg

การที่ชุมชนเมืองต่ำมีบารายขนาดใหญ่ถึง 2 แห่งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจำนวนคนที่อยู่หนาแน่นของชุมชนแห่งนี้  การเป้ นแหล่งน้ำที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์อยู่ในปัจจุบัน ได้แสดงถึงฐานะของแหล่งน้ำบารายหรือสระนั้นๆว่า เป็นไปทั้งเพื่อการเก็บกักน้ำไว้ใช้ พร้อมๆไปกับการดูแลรักษาในฐานะสิ่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์



#32 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:06 AM

ปราสาทเมืองต่ำเป็นประสาทอิฐ กำแพงแก้วและซุ้มประตูทำด้วย หินทราย

1393225233-mtammap-o.jpg

ส่วนกำแพงด้านนอกทำด้วยศิลาแลง เนินปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีสระน้ำล้อมรอบ ความเด่นของปราสาทเมืองต่ำ คือ มีการจำหลักส่วนต่าง ๆ ด้วยลวดลายอันประณีตสวยงาม

1393225272-DSC5338res-o.jpg



#33 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:07 AM

1393225365-IMG9567res-o.jpg
พื้นกลางห้องของโคปุระ จะพบภาพสลักดอกบัว 8 กลีบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล
1393225621-IMG9572res-o.jpg

บริเวณเสาพบอักษรขอมโบราณสลักไว้
1393225590-IMG9574res-o.jpg

1393225601-IMG9573res-o.jpg

บริเวณเสา มักจะพบภาพสลักโยคีในอิริยาทแตกต่างกันเหมือนทุกปราสาท
ท่าโยคะท่านั่งยอง มักพบได้บ่อยในปราสาทเมืองต่ำ
1393225806-IMG9584res-o.jpg



#34 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:07 AM

1393225920-IMG9622res-o.jpg
อาคารขนาดเล็กหรือบรรณาลัย

1393225978-IMG9626res-o.jpg
หันหน้าเข้าหาองค์ประธาน เชื่อว่าเป็นสถานที่สำหรับเก็บคัมภีร์

1393226034-IMG9642res-o.jpg
ปรางก่ออิฐ 5 องค์ เรียงเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์

1393226133-IMG9598res-o.jpg
แถวหลัง 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานชั้นเดียว แผนผังของปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ตัวปรางค์ก่อด้วยอิฐขัดเรียบ



#35 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:07 AM

ระเบียงคดและซุ้มประตู ก่อด้วยอิฐ  มีซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน
1393226279-IMG9655res-o.jpg

ก่อด้วยหินทราย ระเบียงคดนี้ลักษณะเป็นห้องแบบระเบียงคดทั่วไป หลังคาเป็นหินทรายทำเป็นรูปประทุนเรือ มีประตู 3 ด้านพื้นของซุ้มประตูยกสูงขึ้นจากพื้นลานโดยรอบ
1393226307-IMG9644res-o.jpg

1393226234-IMG9609res-o.jpg

1393226327-IMG9641res-o.jpg
ด้านข้างของซุ้มประตูทำเป็นช่องหน้าต่างทึบด้านละ 2 ช่อง ด้านนอกติดลูกกรงลูกมะหวด


  • The traveler likes this

#36 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:08 AM

สระน้ำ ตั้งอยู่ที่ลานรอบนอกระเบียบคดทั้ง 4 ด้าน  กรุพื้นสระด้วยหินทรายซ้อนเป็นชั้น ๆ
1393226400-IMG9651res-o.jpg

ที่มุมขอบสระทุกมุมทำเป็นตัวพญานาคชูคอ สองข้างบาทวิถี  รูปสลักนาคนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปราสาทเมืองต่ำที่ไม่เหมือนใคร
1393226428-IMG9646res-o.jpg

นาคหัวเกลี้ยง เรียบ ซึ่งบางคนก็จะเรียก นาคหัวดล้น เป็นแบบนิยมสมัยบาปวน ซึ่งต่อมาพัฒนาแบบมีปรกแผงขนาดใหญ่
1393226527-IMG9645res-o.jpg

ระหว่างซุ้มประตูระเบียงคดกับซุ้มประตูกำแพงทุกด้านมีบันไดลงสู่สระน้ำอยู่ทั้งสองข้างทาง เหนือบันไดทำเป็นเสาซุ้มประตูทั้งสองข้าง
1393226452-IMG9582res-o.jpg



#37 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:08 AM

สระน้ำรอบปราสาท เป็นการจำลองจักรวาล
1393226842-IMG9648res-o.jpg

โดยสร้างสระน้ำหักศอกขึ้นที่มุมทั้ง 4  โดยหมายถึงมหาสมุทรที่ล้อมรอบศูนย์กลางจักรวาลซึ่งเป็นอยู่ของเทพ
1393226773-IMG9580res-o.jpg

ซึ่งไม่บ่อยในการสร้างปราสาทที่จะมีสระน้ำในลักษณะนี้
1393226787-IMG9653res-o.jpg



#38 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:08 AM

ภาพสลัก - ทับหลัง

1393226952-IMG9613res-o.jpg
พบที่ปราสาทแถวหน้าทางทิศเหนือ พระศิวะและพระอุมานั่งบนหลังโค ด้านบนพบภาพสลักโยคี

1393227119-IMG9628res-o.jpg
พบที่ปราสาทแถวหลังทางทิศเหนือ  ไม่พบรูปสลักรูปโยคีในทับหลัง สื่อให้เห็นแนวคิดเรื่องการเข้าสู่ปรมาตมัน

1393227275-IMG9649res-o.jpg
ทับหลังศิลปะแบบาปวน ซึ่งปราสาทเมืองต่ำนี้ มีลักษณะพิเศาคือ มีทั้งทัยหลังที่ผสมผสานศิลปะบาปวนและศิลปะแบบเกลียง
น่าจะเกิดจากการก่อสร้างในอดีตอยุ่ในช่วงรอยต่อของทั้ง 2 ยุค



#39 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:08 AM

ดอกบัวยอดปราสท ถูกนำลงมาวางไว้ ทำจากหินทรายนำมาสลัก
1393227490-IMG9605res-o.jpg

1393227625-DSC5339res-o.jpg
ด้านอกเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่นี่มีข้อมูลและภาพจำลองของปราสาทเมืองต่ำ

1393227662-DSC5350res-o.jpg
ภาพสลักลวดลายจำหลักของเสา

1393227689-DSC5341res-o.jpg
ข้อมูลทับหลังจำลอง

ที่ศูนย์บริการนักท่งอเที่ยวนี้เอง ทำให้เราได้ข้อมูลว่า การเดินทางไปสุดชายแดนประเทศไทย ซึ่งติดเขมรนั้น สามารถใช้เส้นทางลัดระหว่างหมู่บ้านได้ ซึ่งจะย่นระยะเวลาเดินทางได้มากเลยทีเดียว   

การเดินทางเข้าสู่พื้นที่กลุ่มปราสาทตาเมือน ระหว่างทางเราพบการก่อสร้างบังเกอร์ หลุมหลบภัยอยู่เป็นระยะ คาดว่าน่าจะเกิดจากเพื่อป้องกันและระวังตัวจากเหตุการณืความไม่สงบของความ ไม่เข้าใจกันของ 2 ประเทศมนช่วงที่ผ่านมา
1393227856-DSC5356res-o.jpg



#40 spras77

spras77

    สมาชิกกำลังออกตั๋ว

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 267 posts

Posted 05 March 2014 - 10:09 AM

1393228448-IMG9738res-o.jpg
เราพากันเดินทางลัดเลาะมาตามถนนสายรองใช้เวลาพักใหญ่ก็เข้าเขตพื้นที่กลุ่ม ปราสาทตาเมือนครับ ที่นี่มีความพิเศษอยู่เล็ก การบูรณะและพัฒนาต้องมาหยุดชะงักลงเพราะข้อพิพาทกับเพื่อนบ้าน จึงทำให้มีภาพที่ไม่คุ้นตา เรียงรายเป็นระยะตลอด 2 ฝั่งถนน ไม่ว่าจะเป็นภาพน้องๆทหารยืนเฝ้าระวัง ตรวจตรา ด่านของทหารตั้งอยุ่เป็นระยะ การผลัดเปลี่ยนกำลังพล ที่มีรถบรรทุกทหารวิ่งเข้าออก
1393228630-IMG9734res-o.jpg
แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีบรรยากาศท่องเที่ยว เดินทางเข้าออกของนักท่องเที่ยวอยู่เป็นระยะๆ

1393228647-map-o.jpg
กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในพื้นที่เขตชายแดนรอยต่อของประเทศไทย และประเทศกัมพูชา โดยตั้งอยู่ในเขตบ้านบ้านตาเมียง  อ. พนมดงรัก จ.สุรินทร์  ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับเพื่อนบ้านที่ทำให้การบูรณะต้องหยุดลง และมีภาพของน้องๆทหารๆมาอยู่แทนที่ ก้คือ การที่เส้นเขตแดนไม่ชัดเจน ต่างคนต่างอ้างสิทธิ์ที่ชอบธรรม
1393228885-Skt36-o.jpg






0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users

ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Galileo (แสดงผล waiting list)     ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Amadeus (เแสดงเฉพาะที่นั่งว่าง)
   
    ติดต่อเจ้าหน้าที่แผนก ตั๋วเครื่องบิน โทร 02-3737-555 / จันทร์ - ศุกร์ 09.00~18.00 น. // เสาร์ 09.00-16.00 น.